ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพัน ต่อองค์การของพนักงานสถานออกกำลังกายสังคมชนชั้นสูง

Main Article Content

เกศริน ทุมไพร
ทศพร มะหะหมัด

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานสถานออกกำลังกายสังคมชนชั้นสูง 2) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานสถานออกกำลังกายสังคมชนชั้นสูง 3) เพื่อเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของพนักงานสถานออกกำลังกายสังคมชนชั้นสูง 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานสถานออกกำลังกายสังคมชนชั้นสูง ประชากรในการศึกษาคือพนักงานที่สถานออกกำลังกายสังคมชนชั้นสูง โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 112 ชุด เป็นเครื่องมือในการศึกษา การเก็บรวบรวมข้อมูลและใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลคือร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่าพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง อายุน้อยกว่า 20 - 29 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาต่ำปริญญาตรี อายุงาน 3 -6 ปี ตำแหน่งพนักงานแผนกบริการ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 20,000 บาท คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานอยู่ในระดับความสำคัญมาก ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานอยู่ในระดับความสำคัญมาก ข้อมูลด้านเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงานปัจจุบัน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกันมีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานสถานออกกำลังกายสังคมชนชั้นสูง ไม่แตกต่างกัน แต่ข้อมูลด้านอายุงานที่แตกต่างกันมีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานสถานออกกำลังกายสังคมชนชั้นสูงแตกต่างกัน คุณภาพชีวิตการทำงานมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานสถานออกกำลังกายสังคมชนชั้นสูง อยู่ในระดับสูงทิศทางเดียวกัน คุณภาพชีวิตการทำงานด้านด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรมและด้านลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมมีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานสถานออกกำลังกายสังคมชนชั้นสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิราภรณ์ ปานดี. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัท บีทาเก้น จำกัด. [การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

จุฑามาศ สงวนทรัพย. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน: กรณีศึกษา บริษัทดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด สำนักงานใหญ่ (ราชเทวี). [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ณัฐสิชล สุขการเพียร. (2556). คุณภาพชีวิตและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันองค์การของคนประจำเรือพาณิชย์ชาวไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

เนตรนภา นันทพรวิญญู. (2551). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จํากัด. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

รวมศิริ เมนะโพธิ. (2550). เครื่องมือวัดการทำงานอย่างมีความสุขกรณีนักศึกษาภาคพิเศษ ระดับ ปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วราภรณ์ กงจันทา. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การ ของพนักงานสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

วิลาวรรณ รพีพิศาล. (2549). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: วิจิตรหัตถกร.

ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ฮาซันพริ้นติ้ง.

Manion, J. (2003). Jot at work: Creating a positive workplace. Journal of Nursing Administration, 33 (12), 652-655.

Steers, R. M. (1977). Antecedents and outcomes of organizational commitment. Administrative Science Quarterly, 6(22), 46-56.

Walton, Richard E. (1973). Quality of Working Life: What is it? Sloan. Management Review, 4 (7), 20-23.

Warr, P. B. (2007). Work, Happiness, and Unhappiness. New York: Lawrence Erlbaum Associates, Inc.