สภาพและแนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22
Main Article Content
บทคัดย่อ
เทคโนโลยีดิจิทัลได้นำมาใช้ด้านการศึกษา ทั้งในการจัดการเรียนการสอน การติดต่อสื่อสาร การปฏิบัติงานและพัฒนาระบบงานให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา 2) เปรียบเทียบสภาพการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา จำแนกตามสถานภาพและขนาดของโรงเรียน 3) หาแนวทางในการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 โดยการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 408 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น ระยะที่ 2 การหาแนวทางในการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์เป็นที่ยอมรับและมีวิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practice) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน และครูผู้สอน จำนวน 3 คน รวม 6 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง จากนั้นประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง
แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.32 - 0.85 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test Independent) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัย พบว่า 1) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาของโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการรายงานข้อมูลทางการศึกษาออนไลน์ อยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านระบบเครือข่ายเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาอยู่ในระดับมาก 2) เปรียบเทียบสภาพการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จำแนกตามสถานภาพ โดยรวมไม่แตกต่างกัน และเปรียบเทียบสภาพการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
เพื่อการศึกษา จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3) แนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22 ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านระบบเครือข่ายเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา ด้านการรายงานข้อมูลทางการศึกษาออนไลน์ ด้านสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ และด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน และระดับความเป็นไปได้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
Bodeerath, W. (2000). PDCA Cycle for Success. Bangkok: Prachachon Company Limited.
[In Thai]
Cindy E. Hmelo-Silver. (2004). Problem-Based Learning: What and How Do Students
Learn?. Educational Psychology Review, 16 (pp.235 - 266).
Daily News newspaper. (2019). Digital Council in Thailand. Retrieved 22 March 2019,
from: https://www.dailynews.co.th/article/694969. [In Thai]
Ministry of Education. (2016). Educational Development Plan of the Ministry of
Education No.12 (2017 - 2021). Retrieved 22 March 2019, from http://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2017/ 20170313-Education-Development-Plan-12.pdf. [In Thai]
Ministry of Information and Communication Technology. (2014). (Draft) Information and
Communication Technology Master Plan No.3 of Thailand. Retrieved 9 February 2019, from http://itc.ddc.moph.go.th/file/it_plan_58.pdf. [In Thai]
Office of the Civil Service Commission (2019). What is digital literacy. Retrieved March 22, 2019, from https://www.ocsc.go.th/DLProject/mean-dlp. [In Thai]
Office of the National Economic and Social Development Board (2016). The 12th
National Economic and Social Development Plan. Retrieved 9 February 2019, from: https://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422. [In Thai]
Office of the Permanent Secretary for Education. (2019). Digital skill development plan
for civil servants and personnel Under the Office of the Permanent
Secretary for Education 2019-2022. Retrieved 26 September 2019, from: http://www.bga.moe.go.th/2018/wp-content/uploads/2019.pdf. [In Thai]
Painee, K. (2014). State of Using Information Technology for Education in Schools
under Buriram Primary Educational Service Area Office 4. Master of Education Thesis Educational Administration. Buriram: Buriram Rajabhat University. [In Thai]
Phalalerd, W. (2014). The State of Information Technology and Communication
Operation based on Information Technology Master Plan of Schools under the Office of Secondary Educational Service Area 24. Master of Education Thesis Educational Administration. Roi Et: Roi Et Rajabhat University. [In Thai]
Pinadpai, C. (2016). The use of information technology for the education under of
high school students educational service are office 32. Master of Education
Thesis Educational Administration. Buriram: Buriram Rajabhat University. [In Thai]
Pinla, W. (2017). Techniques for managing history. For Social Teachers in the 21st
Century. Parichat Journal, 2017 (Version 2). [In Thai]
Sasiworadate, J. (2017). Problems and guiled development informational technology
used of Watphala School under the Rayong Primary Educational Service Area Office 1. Master of Education Thesis Educational Administration.
Chon Buri: Burapa University. [In Thai]
Srisa-ard, B. (2013). Preliminary research (8th edition). Bangkok: Suwiriyasarn. [In Thai]
Suwannatrai, T. (2013). Application of Information Technology for Instruction
Management of Teachers in That Phanom District, Nakom Phanom Province. Independent study Master of Education Educational Administration. Nakhon
Phanom: Nakhon Phanom University. [In Thai]
The Secretariat of the Council of Education (2017). National Education Plan 2017 –
Bangkok: Company Graphic sweet chillies. [In Thai]
The Secretariat of the Council of Education (2017). National Education Plan 2017 –
Bangkok: Prigwhan Graphic. [In Thai]
Worasawas, P. (2019). Development of learning activities based on problem-solving
on important issues in Thai history, Mattayomsuksa 4(Master of Education Social Studies Program). Mahasarakham: Mahasarakham Rajabhat University. [In Thai]
Yiamram, T. (2018). The Operation State of Information Technology and Schools
under The Secondary Educational Service Area Office 33. Master of Education Thesis Educational Administration. Buriram: Buriram Rajabhat University. [In Thai]