ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารสถาบันอาชีวศึกษา ภาคใต้สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

สายสะหมอน งามสี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนาการบริหาร สถาบันอาชีวศึกษาภาคใต้สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ การพัฒนาการบริหารสถาบันอาชีวศึกษาและ 3) เพื่อประเมินข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารสถาบันอาชีวศึกษาภาคใต้สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ รวมเป็น 242 คน ประกอบด้วยผู้บริหารวิทยาลัยและโรงเรียนจำนวน 21 คน และครูจำนวน 221 คนผู้วิจัยได้กำหนด ขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน และได้มาโดยการสุ่ม แบบชั้นภูมิแบบไม่เป็นไปตามสัดส่วน โดยใช้ประเภทของสถาบันเป็นชั้นภูมิในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถาม แบบประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่นที่ .96 และแบบประเมินยุทธศาสตร์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า


1) การศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนาการบริหารสถาบันอาชีวศึกษาภาคใต้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ใน ด้านงานบริหารทั่วไปและงานบุคลากร ด้านงานวิชาการ และ ด้านงานกิจการนักศึกษาพบว่า สภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนาการบริหารสถาบันอาชีวศึกษาภาคใต้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านงานวิชาการ ด้านงานบริหารทั่วไปและงานบุคลากรและ ด้านงานกิจการนักศึกษาอยู่ในระดับมาก


2) การสร้างและการพัฒนายุทธศาสตร์ การพัฒนาการบริหารสถาบันอาชีวศึกษาภาคใต้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้ห้ายุทธศาสตร์คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1พัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาศักยภาพบุคลากร ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบการบริหารและการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมและ ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะตามมาตรฐานวิชาชีพ และ


3) การประเมินยุทธศาสตร์ผลการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับ มากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

Department of Vocational Education. (2016). Plan for Vocational Education and
Vocational Training (2016–2020), Ministry of Education and Sports.
Farstad. (2009). The Future of Thai Vocational Education in the Next Decade.
Intarasopha, K. (2013) A model of Private vocational educational
administration for ASEAN Community, Ph.D., Silapak University.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30: 607-610.
Lao Vocational Education Development Project. (2016). Handbook of educational
quality assurance, Ministry of Education and Sports.
Lao Ministry of Education. (2004). Education Development Plan.
Lao Ministry of Education. (2016). Action Summary Educational Development Plan. Vientiane: Educational Printing Enterprise.
Lao Ministry of Education. (2016). Education strategy for however (2016 - 2020). Vientiane. Member of the Basic Education Committee, Journal of Educational
Administration, Year 6, Issue 2, April 2012 – September 2013.
Chinachitphan, P. (2010). A model of vocational learning and teaching
management development for bilateral system of Industrial Technician,
Dissertation, King Mongkut's University of Technology North Bangkok.
Mana, S. T. (2011). The Development of the Total Quality Management
of Chiang Rai Vocational College.
Tiklak. (2002). The Future of Thai Vocational Education in the Next Decade (2011-2021) Doctor of Education Khon Kaen University.