การพัฒนาศักยภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลบึงบูรพ์ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

เสาวลักษ์ คำถา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทความต้องการการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลบึงบูรพ์ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลบึงบูรพ์ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจจากการพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้สูงอายุเทศบาลตำบลบึงบูรพ์ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุในพื้นที่เทศบาลตำบลบึงบูรพ์ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 150 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ หลักสูตรการฝึกอบรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้สูงอายุ กิจกรรมการฝึกอบรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้สูงอายุ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบประเมินทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และแบบสอบถามความพึงพอใจ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เพื่อหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุในเทศบาลบึงบูรพ์ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นชมรมผู้สูงอายุที่มีจำนวนสมาชิกถึง 946 คน ยังมีความต้องการที่จะเรียนรู้ และยังอยากมีโอกาสในการเรียนรู้ข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตและการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยผู้สูงอายุจึงมีความต้องการเพิ่มศักยภาพของผู้สูงอายุเองในการบริหารจัดการกลุ่ม การสืบค้นหาความรู้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกยุคปัจจุบัน 2) ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลบึงบูรพ์ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ ที่ผ่านการเรียนโดยการอบรมหลักสูตรการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้สูงอายุ มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในระดับดี และ 3) ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลบึงบูรพ์ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ ที่ผ่านการเรียนโดยการอบรมหลักสูตรการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้สูงอายุมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

Atchara Ench. (2007). The use of information and communication technology of
the population aged 60 years and over. Bangkok: Walailak University.
(Copy). [In Thai]
Charuwan Pimpikho. (2009). Use and demand for information and communication
technology With Elderly in Khon Kaen Municipality. Khon Kaen: Khon Kaen
University. [In Thai]
Kaveepong Lertwajara. (2012). The study of technology learning problems of the
elderly. Bangkok: Thammasat University. [In Thai]
Ministry of Social Development and Human Security. (2008). Elderly Act 2546.
Bangkok: Ministry of Social Development and Human Security. [In Thai]
Parker &McCluskey. (1975).Definition of Probabilistic Control lability. Brglez 1984 –
COP. 1st probabilistic measures. Seth, Pan &Agrawal 1985 – PREDICT. [In Thai]
Pisanupong Jirapokanan. (2010). Opinions and needs of the elderly towards computer
learning: a case study of the elderly club in Bang Khun Thian District Bangkok. Bangkok: Thammasat University. [In Thai]
Saman Loyphy. (2011). Elderly and Information Technology. Khon Kaen: Information
Management and Communication Faculty of Humanities and Social Sciences. [In Thai]
Smith, J. & Spurling, A. (1999). Lifelong Learning Riding the Tiger. Cassell: London.
Erlbaum Associates. [In Thai]
Supatra Kachatong. (2002). Elderly Internet Use: A Case Study of OPPY Club
Members. Bangkok: Ramkhamhaeng University. [In Thai]
Wantanee Janokul. (2009). The need to improve the quality of life of the elderly in
urban communities of learning. Bangkok: Walailak University. [In Thai]