พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ในการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ในรายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คืออาจารย์สาขาวิทยาศาสตร์จำนวน 3 คน ดำเนินการวิจัยในระหว่างภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนตามชั่วโมงการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ คนละ 2 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) จัดประเภทข้อมูลตามนิยามการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
ผลการวิจัย พบว่า อาจารย์ผู้สอนสองในสามคน มีพฤติกรรมการสอนที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์สอดคล้องกับนิยามที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการนำเทคนิคต่าง ๆ มาใช้ร่วมกันหลายเทคนิค และการจัดการเรียนรู้มีลักษณะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทั้งการทำกิจกรรมและการแสดงความคิดเห็น เทคนิคต่าง ๆ ที่พบ ได้แก่ เทคนิคการใช้คำถามที่มีลักษณะกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ฝึกคิด จินตนาการ และเป็นคำถามปลายเปิดเพื่อให้ผู้เรียนมีอิสระในการตอบ มีการใช้สถานการณ์สมมติร่วมกับเทคนิคอื่น ๆ เช่น การวาดภาพ การใช้คำถาม การคาดเดาคำตอบ การคิดสร้างสิ่งประดิษฐ์ และการทดลอง นอกจากนั้นยังมีการใช้การสาธิตร่วมกับการใช้อุปกรณ์วิทยาศาสตร์
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
Aree, R. (1995). Creativity. Bangkok: Charoen State Printing. [In Thai]
Bloomberg, M. (1973). Creative Theory and Research. New Haven: United Printing Services. Inc.
Pongpun, P. (2001). Theory and Consulting techniques. 3rd Edition. Bangkok: Thanathachart Printing Co., Ltd. [In Thai]
Pop, L. (1994). Teaching Science. Bangkok: Thai Wattana Panich. [In Thai]
Porntip, S. (2013). STEM Education with 21 century skills development. Executive Journal, 33(2), 49-56. [In Thai]
Prathum, A. (1992). Comparing scientific ideas between students who have been trained and not trained. Bangkok, Faculty of Education Kasetsart University. [In Thai]
Somsak, P. (2001). Techniques for promoting creative thinking. 6th edition. Bangkok: Thanathachart Printing Co., Ltd. [In Thai]
Suwimol, N. (2016). Teaching Education of Faculty of Science. Sisaket, Faculty of Education Sisaket Rajabhat University [In Thai]
Suwit, M. (2007). Creative teaching tactics. 4th Edition. Bangkok: Print Partnership. [In Thai]
Torrance, E.P. (1974). Rewarding Creative Behavior: Experiment in Classroom Creativity. Englewood Cliffs.N.J.: Prentice Hall.
Torrance, E.P. (1965). Education and the Creative Potential Minneapotis. The Lund Press Inc.