แนวทางการจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

ธนิต โตอดิเทพย์

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง “แนวทางการจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี” มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการได้รับและความต้องการของการจัดสวัสดิการเพื่อการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณร่วมกับการศึกษาเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุได้รับเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการด้านการช่วยเหลือสาธารณะของผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง และผู้สูงอายุได้รับการจัดสวัสดิการบริการสังคมอยู่ในระดับปานกลาง ประกอบไปด้วย 5 ด้าน สามารถเรียงลำดับได้ดังนี้ คือ ด้านบริการสังคมและนันทนาการ ด้านสุขภาพอนามัย ด้านการศึกษา ด้านที่อยู่อาศัย และด้านการทำงานและมีรายได้ และแนวทางการจัดสวัสดิการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ต้องประกอบไปด้วยการจัดการเชิงนโยบาย และแนวทางการจัดสวัสดิการของท้องถิ่น ได้แก่ การปรับเกณฑ์จำแนกผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับปรากฏการณ์ในพื้นที่ การออกแบบนโยบายหรือโครงการที่สอดคล้องและครอบคลุมความต้องการของผู้สูงอายุ

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

เชิญพร คงมา. (2563, 8 เมษายน). เมืองแสนสุข. https://readthecloud.co/sansook-smart-city-chon-buri.

เทศบาลเมืองแสนสุข. (2560). แผนพัฒนาท้องถิ่นในแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ 2560 - 2562). เทศบาลเมืองแสนสุข ชลบุรี. เทศบาลเมืองแสนสุข ชลบุรี.

เทศบาลเมืองแสนสุข. (2561). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561 – 2565). เทศบาลเมืองแสนสุข ชลบุรี.

ธนิต โตอดิเทพย์. (2561). ศักยภาพและทิศทางการพัฒนาสังคมสูงอายุในเขตเมืองภาคตะวันออก. รายงานการวิจัย. โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้. เงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ 2561.

ธนิต โตอดิเทพย์. (2563). กลไกของการพัฒนาผู้สูงอายุในท้องถิ่น: กรณีศึกษาจังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 28(1), 120-140.

ปิยากร หวังมหาพร. (2550). นวัตกรรมการนำนโยบายผู้สูงอายุไปปฏิบัติขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น. รายงานการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ปิยากร หวังมหาพร. (2554). ผู้สูงอายุไทย: พัฒนาการเชิงนโยบายภาครัฐจากอดีตสู่ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ปิยากร หวังมหาพร. (2559). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วม ในการดูแลผู้สูงอายุ ของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 9(1), 31-63.

ปิยากร หวังมหาพร. (2559). บทบาทอาสาสมัคร ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน: การเปลี่ยนแปลงจากการปกครอง สู่การบริหารปกครองสาธารณะ. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 8(2), 33-58.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2555). รายงานประจำปี สถานการณ์ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2553. บริษัท ที คิว พีจำกัด.

สุดารัตน์ สุดสมบูรณ์. (2557). สวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 7(1), 72-83.