การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาจากคลิปวีดิโอ เรื่องกติกาเซปักตะกร้อรายวิชาการตัดสินกีฬาเซปักตะกร้อ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Main Article Content

วีระพงษ์ แดนดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ 2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อกรณีศึกษาจากคลิปวีดิโอ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาจากคลิปวีดิโอ เรื่องกติกาเซปักตะกร้อ แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้แบบออนไลน์ก่อนเรียนและหลังเรียน กิจกรรมการเรียนรู้มีค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.87 และแบบสอบถามความพึงพอใจมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.75 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที


ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้มีค่าเท่ากับ 82.02/82.14 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กรมพลศึกษา. (2555). คู่มือผู้ตัดสินกีฬาฟุตซอล : Futsal Referee Guide. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2559). แผนพัฒนากีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (2560 – 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ชนม์ขนิษฐ์ วิศิษฎ์สมบัติ. (2558). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การออกแบบโฮมเพจ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 9(1), 204-212.

เชน ชวนชม. (2562). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจําวันเรื่องการใช้งานโปรแกรม Microsoft office สําหรับนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารวิชาการสถาบันการพลศึกษา, 10(3), 195 – 206.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2541) คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ: วงกลมโพรดักชั่น.

ทิศนา แขมณี. (2552). ศาสตร์การสอน (พิมพ์ครั้งที่ 5) กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์จำกัด.

นนิดา สร้อยดอกสน. (2553) การพัฒนาโปรแกรมสอนภาษาอังกฤษสำหรับเยาวชนผู้พิการทางสายตา. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 20(3), 581-590.

นุชนาถ ชูกลิ่น. (2552). ผลของการใช้กิจกรรมการอภิปรายแบบผสมผสานและกระดานสนทนา ในการเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษา ที่มีต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วงษ์ปัญญา นวนแก้ว, ชเนตตี พิมพ์สวรรค และ จรัญ เจิมแหลม. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดย Mobile Learning วิชากระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ 2 ด้วยโปรแกรมประยุกต์ลักษณะฟอร์ม. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (17 – 23).

วัชรา เล่าเรียนดี. (2552). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 4). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วาสนา คุณาอภิสิทธ์. (2545). วิทยาศาสตร์การกีฬา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

วิฑูรย์ สิมะโชคดี. การเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ. รังสิตบิวสิเนสรีวิว 2, 81-84.

ศุภชัย โชติกิจภิวาทย์. (2554). ผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บวิชาประวัติศาสตร์การออกแบบที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. 4(1), 40-50.

อมรรัตน์ ศรีแก้ว และ สวียา สุรมณี. (2559). การพัฒนาแอพพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้บนแท็บเล็ต เรื่อง ระบบสารสนเทศสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (น. 54-61). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Eston, Geoff. (1992). Learning from Case Studies (2nd ed). Prentice-Hall International (UK) Ltd.

Smith, P. L. & Ragan, T. J. (1999). Instructional design (2nd ed.). New Jersey: Prentice-Hall.