การพัฒนาคลังความรู้ภูมิปัญญาคชศาสตร์ชาวกูยในจังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

สุภาสินี วิเชียร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) วิเคราะห์โครงสร้างความรู้ภูมิปัญญาคชศาสตร์ชาวกูย 2) เพื่อพัฒนาคลังความรู้ภูมิปัญญาคชศาสตร์ชาวกูย และ 3) เพื่อประเมินคลังความรู้ภูมิปัญญาคชศาสตร์ชาวกูย งานวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบการวิจัยและการพัฒนา (Research and Development) ประกอบด้วย 1) การวิจัย (Research) ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในการวิเคราะห์โครงสร้างความรู้ภูมิปัญญาคชศาสตร์ชาวกูย และ 2) การพัฒนา (Development) เป็นการออกแบบและสร้างระบบการจัดเก็บและสืบค้นความรู้ภูมิปัญญาคชศาสตร์ชาวกูย จากนั้นจึงทดลองใช้และประเมินระบบการจัดเก็บและสืบค้นความรู้ตามโครงสร้างความรู้ โดยผู้ทดลองใช้และประเมินเป็นผู้ใช้ความรู้ภูมิปัญญาคชศาสตร์ชาวกูย จำนวน 25 คน ประกอบด้วย อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทางด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วัฒนธรรมศึกษา มานุษยวิทยา ชาติพันธุ์วิทยาและที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการวัฒนธรรม นักศึกษา และผู้ใช้ในแหล่งให้บริการความรู้ภูมิปัญญาคชศาสตร์ชาวกูย


ผลการวิจัยพบว่า โครงสร้างความรู้ด้านภูมิปัญญาคชศาสตร์ชาวกูย ประกอบด้วยหมวดความรู้ 4 หมวด หมวดย่อย 11 หมวด และหมู่ย่อย 4 หมู่ และผลการประเมินคลังความรู้ภูมิปัญญาคชศาสตร์ชาวกูยพบว่า ผู้ประเมินส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าคลังความรู้ภูมิปัญญาคชศาสตร์ชาวกูย มีความสามารถด้านการบริหารจัดการ (Administration) มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการสืบค้นและเข้าถึง (Searching and Access) ด้านการแสดงผล (Displaying) และด้านการเชื่อมโยงไปยังสารสนเทศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (Linking to Related Information) ตามลำดับ 

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กนกพร ฉิมพลี. (2555). รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมเครื่องจักสาน: กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต].

http://libdcms.nida.ac.th/thesis6/2555/b175787.pdf

กระทรวงวัฒนธรรม. (2563, 3 ธันวาคม). ตำราคชศาสตร์ฉบับชาวบ้านชาวกูยเมืองสุรินทร์.

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. http://ich.culture.go.th/index.php/en/research/497--m-s.

คณะอนุกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจกระแสใหม่. (2559). การปฏิรูปเศรษฐกิจ กระแสใหม่. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ฐาปนี เลขาพันธ์ และ จุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์. (2558). การจัดการความรู้ด้านสมุนไพร กรณีศึกษา กลุ่มสมุนไพรบ้านดงบังตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 8(1), 12-25.

ธิติพร ชาญศิริวัฒน์ และคณะ. (2560). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นลายต้นเทียน พรรษา จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 11(2), 69-79.

พิชิต พวงภาคีศิริ, นารีวรรณ พวงภาคีศิริ และ สุรพล ชุ่มกลิ่น. (2554). การพัฒนาระบบสารสนเทศ

ภูมิปัญญาชาวบ้านตำบลนานกกก อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. การประชุมสัมมนาวิชาการราชภัฏนครสวรรค์วิจัย ครั้งที่ 1 (น. 277-290). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ยศยาดา สิทธิวงษ์, สำเร็ง คำโมง, และบุญจันทร์ เพชรเมืองเลย. (2562). การจัดการความรู้ผญาภูมิ ปัญญาท้องถิ่นสู่คลังดิจิทัลเพื่อความยั่งยืน. PULINET Journal, 6(3), 55-67.

วิวิธ วงศ์ทิพย์. (2557). แนวทางการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย : ศึกษาเปรียบเทียบประเทศ ไทยกับประเทศอินเดีย. สุทธิปริทัศน์, 28(87), 323-344.

ศิวนาถ นันทพิชัย. (2554). กรอบแนวคิดระบบการจัดระบบความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย. [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น. http://lib18.kku.ac.th/

ศูนย์บริการวิชาการเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2562). รายงาน ประมวลผลมูลค่าทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์จำแนกตามการผลิต. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สิทธิชัย บวชไธสง. (2560). ฐานข้อมูลสารสนเทศดิจิทัลวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดศรีสะเกษ. รังสิตสารสนเทศ, 23(2), 99-115.

สุพัตรา คงขำ และ นรินทร์ สังข์รักษา. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญา พื้นบ้านหนังตะลุงเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมท้องถิ่น. วารสารศิลปากร ศึกษาศาสตร์วิจัย, 7(1), 242-255.

อัษฎางค์ ชมดี และคณะ. (2556). ตำราคชศาสตร์ฉบับชาวบ้านชาวกูยเมืองสุรินทร์. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.

Broughton, V. (2006). The ened for a faceted classification as the basis of all methods of Information retrieval. Aslib Proceeding, 58(1/2), 49-72.

Davenport, T. H., and Klahr, P. (1998). Managing Customer Support Knowledge. California Management Review, 40(3), 195-208.

Department of cultural promotion. (2015). Guide for submitting the request for the registration of the National Cultural Heritage Registration. Department of cultural promotion.

Gray, P. H. (2001). A problem-solving perspective on knowledge management practices. Decision Support Systems, 31(1), 87-102.

Gibbons, Susan L. (2004). Establishing an Institutional Repository. LATechSource.

Howskins, John. (2001). The Creative Economy: How People Make Money from Ideas. Penguin.

UNCTAD. (2020, 24 August). Creative economy report 2010. http://unctad.org/en/Docs/ditctab20103_en.pdf.

Unesco. (2020, 24 August). Convention for the Safeguarding of the Intangible CulturalHeritage. www.unesco.org/culture/ich/index.php?pg=00006.