การเตรียมความพร้อมของทีมว่ายน้ำมาราธอนทีมชาติไทย ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 31 ประเทศเวียดนาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมของทีมว่ายน้ำมาราธอนทีมชาติไทยในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 31 ประเทศเวียดนาม 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการเตรียมความพร้อมของทีมว่ายน้ำมาราธอนทีมชาติไทยในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 31 ประเทศเวียดนาม กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ นักกีฬา ผู้ฝึกสอน และผู้ควบคุมทีมกีฬาว่ายน้ำมาราธอนทีมชาติไทยในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 31 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. การเตรียมความพร้อมของทีมว่ายน้ำมาราธอนทีมชาติไทยในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 31 ประเทศเวียดนาม โดยรวมอยู่ในระดับมาก (=3.93, S.D.=0.33) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การเตรียมความพร้อมด้านการคัดเลือกนักกีฬาอยู่ในระดับมาก ( =4.03, S.D.=0.28) การเตรียมความพร้อมด้านการฝึกซ้อมอยู่ในระดับมาก ( =3.93, S.D.=0.27) การเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์การฝึกซ้อมอยู่ในระดับมาก ( =3.92, S.D.=0.44) การเตรียมความพร้อมด้านสถานที่ฝึกซ้อมอยู่ในระดับมาก ( =3.88, S.D.=0.47) และการเตรียมความพร้อมด้านงบประมาณและสวัสดิการอยู่ในระดับมาก ( =3.88, S.D.=0.43) 2) ปัญหาและอุปสรรคของการเตรียมความพร้อม พบว่า งบประมาณและสวัสดิการล่าช้า ไม่มีสถานที่ฝึกซ้อมที่เป็นของสมาคมว่ายน้ำแห่งประเทศไทยโดยตรง และการดูแลนักกีฬาไม่ทั่วถึง
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
นิวัฒน์ ฤกษ์กังวาน. (2552). ผลการฝึกด้วยโปรแกรมว่าน้ำระยะไกลที่มีผลต่อความสามารถในการว่าน้ำท่าครอว์ลของนักกีฬาว่ายน้ำเยาวชน รุ่นอายุ 13-14 ปี [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ.
ภารดี ศรีลัด. (2560). สภาพและปัญหาการเตรียมทีมนักกีฬาของโรงเรียนสาธิตที่สังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาสาธิตสามัคคี ครั้งที่ 33. วารสารครุศาสตร์. 45(1): 156-175.
ไวพจน์ จันทร์เสมและคณะ. (2560, 13 พฤศจิกายน). การศึกษาการเตรียมความพร้อมในการฝึกซ้อมและแข่งขันกีฬาฟุตซอลของกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร [ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสมุทรสาคร.
http://www.tnsuskn.ac.th/web/images/Data/research/effect6pdf.
สมาคมกีฬาว่ายน้ำแห่งประเทศไทย. (2563, 13 พฤศจิกายน). ระเบียบการคัดเลือกนักกีฬาว่ายน้ำมาราธอน ทีมชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 30. http://swimming.or.th.
สิริชัย พลับช่วย. (2557). การพัฒนาทีมนักกีฬามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแห่งประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). เเผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
Downing, J. and Thackray, D. (1971). Reading Readiness. London: University of London.