การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานที่ส่งเสริมทักษะการอ่าน เขียน และคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

คนึงชัย วิริยะสุนทร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการการพัฒนาสมรรถนะด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) หาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานตามเกณฑ์ 70/70 3) พัฒนาสมรรถนะด้านการอ่าน การเขียนและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานอย่างน้อยนักเรียนร้อยละ 80 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 65 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 เครือข่ายกลุ่มเมืองพระธาตุเรืองรอง จำนวน 3 โรง ได้แก่ โรงเรียนบ้านนาวา โรงเรียนบ้านโนนดู่ และโรงเรียนบ้านอาลัย


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน แบบทดสอบวัดสมรรถนะด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ และแบบวัดความความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาปรากฏดังนี้ 1) สภาพปัญหาและความต้องการการพัฒนาสมรรถนะด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานที่พัฒนาสมรรถนะด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.39/78.53 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 3) ผลการพัฒนาสมรรถนะด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน นักเรียนร้อยละ 87.69 ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 78.53 และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กรมวิชาการ. (2544). การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุดตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาหลักสูตรกรมวิชาการ.

กฤติกา สิงหะ. (2555). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้านการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนครพนม.

กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา. (2550). “การออกแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจ”. เอกสารประกอบการพัฒนาข้าราชการครูเพื่อเลื่อนวิทยฐานะเป็นครูชำนาญการพิเศษ ครั้งที่ 2 กรณีพิเศษ. กรุงเทพฯ.

กองเทพ เคลือบพณิชกุล. (2542). การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2537). การทดสอบประสิทธิภาพชุดการสอน. เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่ 1 – 5. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทิศนา แขมมณีและคณะ. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

ธิดารัตน์ เจตินัย. (2551). ผลการอ่านจับใจความภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยกลุ่มร่วมมือที่ใช้แผนผังความคิดและเกมตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐาน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต การศึกษาค้นคว้าอิสระ ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ประทีป ยอดเกตุ. (2550). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาไทยส่งเสริมความสามารถในการคิด วิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

พระบุญหลาย ขันติวงค์. (2550). ผลการเรียนรู้ภาษาไทยด้านการอ่านจับใจความด้วยการจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต การศึกษาค้นคว้าอิสระ ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พรวิไล เลิศวิชา และอัครภูมิ จารุภากร. (2550). การออกแบบกระบวนการเรียนรู้โดยเข้าใจสมอง. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

พัฒนา ฤกษ์ชัย. (2554). การพัฒนาผลการจัดกิจกรรมเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้สมองเป็นฐาน เรื่อง การอ่าน การเขียนคำที่มีตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 [การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2548). วิธีวิทยาการสอนวิทยาศาสตร์ทั่วไป. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ.

รังสิยา ทองงาม. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยตามแนวคิดสมอง เป็นฐาน โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่ประสม สระลดรูปและเปลี่ยนรูป ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วนิช สุธารัตน์. (2547). ความคิดและความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: เลิฟแอนด์เลิฟเพรส.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562, 19 มีนาคม). ผลสอบระดับประเทศ RT ปีการศึกษา 2561. http://180.180.244.56/ExamWeb/

สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2543). หลักและวิธีการสอนอ่านภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.