ผลสัมฤทธิ์การอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสมดุลภาษา

Main Article Content

อนุสรา คงกระพันธ์
วิภาดา ประสารทรัพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสมดุลภาษา 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบสมดุลภาษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน โดยใช้การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสมดุลภาษา จำนวน 20 แผน เวลา 40 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านและการเขียนภาษาไทยแบบปรนัย จำนวน 40 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบสมดุลภาษา แบบมาตรประมาณค่า จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบทีแบบเป็นอิสระ


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์การอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสมดุลภาษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบสมดุลภาษา โดยรวมมีความพอใจอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กันตวรรณ มีสมสาร. (2554). รูปแบบการสอนภาษาโดยบูรณาการแนวสมดุลภาษาและการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถทางภาษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22080

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา. มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค.

นิพาพร ธรรมสัตย์. (2558). การศึกษาความคิดคล่องทางภาษาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการอ่านร่วมกันตามแนวสมดุลภาษา [วิทยานิพนธ์ปริญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. http://grad.vru.ac.th/Database_thesis/thesis/file_pdf/full_53M54680223.pdf

ประเสริฐ บุญเรือง. (2555). นโยบายการส่งเสริมการรู้หนังสือ. วารสารการเรียนรู้ตลอดชีวิต, 1(1), 1.

วรินทร โพนน้อย. (2555). นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยแบบสมดุลภาษาสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ http://thesis.swu.ac.th/swudis/Cur_Re_Dev/Warintorn_P.pdf

วัชระ ทองนิล (2562, 2 พฤษภาคม). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. ใน บูรพา พรหมสิงห์, การติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. การประชุมคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา (ก.ต.ป.น.), ห้องประชุมจินดาอินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2.

วิภาพร คุปติเกษม. (2558). การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่อง อักษรนำ และทักษะการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การสอนแนวสมดุลภาษา [วิทยานิพนธ์ปริญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream

ศศิธร บุญไพโรจน์, ปิยาภรณ์ พุ่มแก้ว. (2562). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำโดยใช้รูปแบบการสอนภาษาไทยแนวสมดุลภาษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 8(2), 122-132.

ศิวกานต์ ปทุมสูตร. (2554). เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้แก้ง่ายนิดเดียว (พิมพ์ครั้งที่ 11). นวสาส์นการพิมพ์.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2552). การจัดกระบวนการเรียนรู้: เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. อักษรเจริญทัศน์.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2558). การอ่านคิดวิเคราะห์ตามแนวทางประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (PISA) (พิมพ์ครั้งที่ 1). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2561). รายงานผลการทดสอบความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test: RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2561. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. http://180.180.244.56/ExamWeb/

อารีย์ สัณหฉวี. (2550). สอนภาษาไทยแนวสมดุลภาษา. สมาคมเพื่อการศึกษาเด็ก.

อวยพร พันธ์อุดม. (2559). การศึกษาความสามารถทางภาษาไทยและความมุ่งมั่นในการทำงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยการจัดการเรียนรู้แบบสมดุลภาษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. http://etheses.aru.ac.th/PDF/1255921742_11.PDF