การเสริมสร้างความอ่อนน้อมของนักศึกษาวิชาชีพครู ด้วยกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษาแบบผสมผสาน

Main Article Content

มนตรี หลินภู
ศรวัส ศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองรูปแบบวัดก่อนและวัดหลังการทดลองของกลุ่มตัวอย่างเดียว มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความอ่อนน้อมของนักศึกษาวิชาชีพครูกลุ่มทดลองระยะก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมด้วยการจัดกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษาแบบผสมผสาน กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมทดลองเป็นนักศึกษาวิชาชีพครู โปรแกรมวิชาสังคมศึกษา ชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามความอ่อนน้อมนักศึกษาวิชาชีพครู 2) รูปแบบกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษาแบบปกติและแบบออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและ ค่าสถิติทดสอบทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาวิชาชีพครูกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมการเสริมสร้างความอ่อนน้อมด้วยกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษาแบบผสมผสาน มีคะแนนความอ่อนน้อมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และจากข้อคิดเห็นพบว่า นักศึกษาตระหนักรู้และเห็นคุณค่าตนเองมากขึ้น รู้สึกขอบคุณบุคคลที่มีพระคุณ รู้จักเปิดใจรับฟังผู้อื่นมากขึ้น อีกทั้ง รู้สึกมีความสุขกับการเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้น

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กรกนก ยงค์โภชน์. (2561). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ วิชา ประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเขากะลาวิทยาคม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

กรวิภา สุวรรณกูล, มณฑิรา จารุเพ็ง, พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์ และวัยวุฑฒ์ อยู่ในศิล. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบของความอ่อนน้อมถ่อมตนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสาร Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(2), 1803-1816.

จรัล แก้วเป็ง. (2546). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนด้านคารวะธรรม โรงเรียนเชียงคำวิทยาคมอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

จุฑามณี เสาระโส และทัศน์สิรินทร์ สว่างบุญ. (2560). การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความมีวินัยในตนเองตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาสำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางสติปัญญา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกาฬสินธิ์ปัญญานุกูล จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการวัดผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 23(2), 64-72.

ธนา นิลชัยโกวิทย์ และ อดิศร จันทรสุข. (2559). ศิลปะการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง : คู่มือกระบวนกรจิตตปัญญา (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์ภูสายแดด.

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2563, 19 ธันวาคม). พระราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. https://www.ubu.ac.th/web/files_up/00046f2019081616591218.pdf

สีปะเสิด แก้วบัวบาน และ สวัสดิ์ โพธิวัฒน์. (2555). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนามารยาทของนักศึกษาวิทยาลัยสะหวันบริหารธุรกิจ แขวนสะหวันนะเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 9(44), 85-94.

สุพัฒน์ เศรษฐคมกุล. (2556). กิจกรรมสร้างเสริมวินัยในตนเองของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏราช

นครินทร์ โดยการประยุกต์ใช้กระบวนการแนวจิตตปัญญาศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุพิชญา โคทวี. (2555). จิตตปัญญาศึกษาทางเลือกใหม่ของการศึกษาไทย. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 41-52. http://lib.edu.chula.ac.th/IWEBTEMP/25640514/4276168194145529.PDF.

Gyeltshen Yang. (2016). Contemplative practices and learning: a holistic approach to

education in Bhutan. The Graduate School of the University of Massachusetts Amherst Doctor of philosophy, College of Education.

Kuroda Ariyabhorn. (2014). Contemplative Education Approaches to Teaching Teacher

Preparation Program. Procedia Social and Behaviour Sciences, Published by Elsevier Ltd, https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1877042814004224.

Peterson & Seligman. (2004). Humility and Modesty. Character Strengths and Virtues: A Handbook and Classification. New York: Oxford University Press.

Tangney J.P. (2002). Humility. Handbook of Positive Psychology. New York: Oxford University Press.