การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 5 ขั้น เรื่อง การแยกสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ธีรพงษ์ เทศชวน
จิตตรี พละกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 5 ขั้น เรื่องการแยกสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 5 ขั้น เรื่อง การแยกสาร กับนักเรียนที่เรียนด้วยการสอนแบบปกติ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 5 ขั้น เรื่องการแยกสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 40 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาลท่าโขลง 1 สังกัดเทศบาลเมืองท่าโขลง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน และกลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 5 ขั้น เรื่องการแยกสาร และแผนการจัดเรียนรู้แบบปกติ 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 5 ขั้น เรื่องการแยกสาร 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ4) แบบวัดความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 5 ขั้น เรื่อง การแยกสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 80.60/83.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนดไว้ที่ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 5 ขั้น เรื่อง การแยกสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการสอนปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 5 ขั้น เรื่องการแยกสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. พริกหวานกราฟิก.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

https://drive.google.com/file/d/1_ALwE9xuCL3Fjet3XI4gYjBj8p_1zLaA/view.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 3). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. https://drive.google.com/file/d/1mKyU6tkVWlL5b6vfwHNEzqkcqVXf_H-m/view

จีรวรรณ เกิดร่วม. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคําแหง. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 14(1), 15-28.

ชาตรี ฝ่ายคำตา. (2552). การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 11(1), 32-45.

ณัชกร สุวรรณหงษ์, เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม, สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์ และประภาศิลป์ ญาติเจริญ. (2560). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายเมือง 2 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 โดยใช้ชุดกิจกรรมการสอนแบบ 5E. ใน เมธาวี โชติชัยพงศ์ (บ.ก.), การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 5 “การวิจัยเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Research to Make A CHANGE)” (น. 532-541). มหาวิทยาลัยราชธานี.

ทิศนา แขมมณี (2543). ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนและการฝึกทักษะกระบวนการกลุ่มชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพมหานคร. ภาควิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ธิดาวัลย์ บุญมั่งมี, อุษา ปราบหงส์ และพจมาน ชํานาญกิจ. (2556). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรูเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรูวิทยาศาสตร์ เรื่อง ร่างกายของเรา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 5(12), 227-237.

น้ำฝน คูเจริญไพศาล, กัลป์นิกา แก้วเมืองใจ และวัลลี สำนึก. (2561). ผลของการใช้ชุดกิจกรรมเรื่องการแยกสารที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการสื่อความหมายข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(1), 100- 111.

ประภัสสร ขันแข็ง, เพลินใจ อัตกลับ, เกศริน มีมล, และทิพย์วรรณ หงกะเชิญ. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ด้วยชุดกิจกรรมการทดลอง เรื่อง การแยกสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 โรงเรียนวัดไทร(ถาวรพรหมานุกูล). ใน ฝ่ายบริการการศึกษา สำนักงานทะเบียนและประมวลผล (บ.ก), การประชุมวิชาการ ครั้งที่ 56 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (น.133-138). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประเสริฐ สำเภารอด. (2552). ชุดการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.[สารนิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พัชรินทร์ วัฒนราช. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่องพลังงานไฟฟ้า วิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 16(2), 43-57.

ศศิกัญญา ดอนดีไพร และนวลศรี ชํานาญกิจ. (2555). การพัฒนาชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การแยกสาร สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(18), 115-130.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. http://scimath.org/e-books/8923/flippingbook/index.html

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. พริกหวานกราฟิก.

Bloom, B.S. (1976). Human characteristics and school learning. McGraw-Hill Book.