การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ภาษาอังกฤษแบบเรียนรู้ด้วยตนเอง ผ่านทางเว็บบล็อก สำหรับยุวมัคคุเทศก์ท้องถิ่น อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนออนไลน์ภาษาอังกฤษแบบเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านทางเว็บบล็อก 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ของผู้เข้าอบรมก่อนและหลังการฝึกอบรมผ่านบทเรียนออนไลน์ภาษาอังกฤษแบบเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านทางเว็บบล็อก สำหรับยุวมัคคุเทศก์ท้องถิ่น และ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อบทเรียนออนไลน์ภาษาอังกฤษแบบเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านทางเว็บบล็อกของ ยุวมัคคุเทศก์ท้องถิ่น โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ยุวมัคคุเทศก์ท้องถิ่น อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 44 คน ซึ่งได้รับการอบรมผ่านบทเรียนออนไลน์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย บทเรียนออนไลน์ภาษาอังกฤษแบบเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านทางเว็บบล็อก และแบบประเมินความพึงพอใจของยุวมัคคุเทศก์ท้องถิ่น ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยการหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ภาษาอังกฤษแบบเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านทางเว็บบล็อก มีค่าเฉลี่ย 4.67 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.38 ซึ่งหมายความว่าบทเรียนออนไลน์นี้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ค่าเฉลี่ยการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษแบบปรนัยหลังการอบรมสูงขึ้น โดยมีค่าความต่างอยู่ที่ 4.687 คะแนน (S.D. = 2.038) ค่า t-test 8.664 และค่าเฉลี่ยจากการประเมินทักษะการสื่อสารหลังการอบรมสูงขึ้น โดยมีค่าความต่างอยู่ที่ 0.414 คะแนน (S.D. = 0.821) ค่า t-test 7.006 ซึ่งผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทั้งสองด้าน และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของยุวมัคคุเทศก์ท้องถิ่น โดยมีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด 4.64 (S.D. = 0.51)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
จิราภรณ์ พรหมเทพ. (2554). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: แผนนำเสนอโบราณสถานศิลปะขอม จังหวัดสกลนคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธีระนาถ ทีปะปาล. (2554). การสร้างบทเรียนออนไลน์เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้ยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชั่น วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
พรรณเพ็ญ ยังเหล็ก. (2552). ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
พัชชาพลอย สุทธิชูวงศ์. (2552). รูปแบบและกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนบนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงโดยชุมชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษา: หมู่บ้านดอนม่วง ตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
รุ่งทวี พรรณา. (2554). เว็บฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวด้วยเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับยุวมัคคุเทศก์ โรงเรียนอุ้งผางวิทยาคม จังหวัดตาก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออก. (2530). ภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพมัคคุเทศก์. http://www.e4thai.com/e4e/images/pdf/English_for_Tourist_Guide.pdf
โศภิษฐ์ ศรีสัตตะรัตนามาศ. (2551). การสร้างและทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมสิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับยุวมัคคุเทศก์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดมหาสารคาม. (2555). ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวหรรษา. http://www.e4thai.com/e4e/images/pdf/E-tour.pdf
หทัยกาญจน์ วงษ์แก้ว. (2552). การพัฒนาชุดการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เรื่อง My Village โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประเภทแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองเขียว [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
หทัยวรรณ จันทร์อยู่ และคณะ. (2558). ผลการเรียนรู้ด้วยชุดฝึกอบรมแบบสร้างเสริมประสบการณ์พูดภาษาอังกฤษด้วยบริบทท้องถิ่น สำหรับมัคคุเทศก์น้อย. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 11(ฉบับพิเศษ), 77-92.
อภิรวี อยู่บริบูรณ์. (2557). การสร้างบทเรียนออนไลน์ผ่านเครือข่ายสังคมเรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาเซียนปละคำศัพท์ภาษาอังกฤษเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบูรณะศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
อลิสา วานิชดี. (2554). การพัฒนาชุดฝึกอบรมออนไลน์การเขียนบทความวิชาการภาษาอังกฤษ. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 24(2), 60-72.