แนวทางพัฒนาตลาดริมน้ำเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวิถีลุ่มน้ำ กรณีศึกษา ตลาดเก่าศรีประจันต์ ตลาดเก่าท่าช้าง และตลาดเก่าสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

ปัทถาพร สุขใจ
ชัยณรงค์ ศรีรักษ์
เขวิกา สุขเอี่ยม
ปิยพงษ์ เขตปิยรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวตลาดริมน้ำของตลาดเก่าศรีประจันต์ ตลาดเก่าท่าช้าง และตลาดเก่าสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เสนอแนวทางพัฒนาตลาดริมน้ำเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวิถีลุ่มน้ำ โดยวิธีภาคสนาม (Field Study) การสัมภาษณ์ด้วยแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 30 คน ประกอบไปด้วย ปราชญ์ชุมชน แกนนำชุมชนด้านการท่องเที่ยว ผู้นำและสมาชิกในชุมชนลุ่มน้ำ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมสำรวจและประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวิถีลุ่มน้ำจังหวัดสุพรรณบุรี ข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) และการตีความ (interpretation) โดยเขียนเป็นประโยคหรือข้อความตามกรอบแนวคิดทฤษฎี เรียบเรียงและนำเสนอตามความจริง ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนริมน้ำตลาดเก่าศรีประจันต์ ตลาดเก่าท่าช้าง และตลาดเก่าสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี มีศักยภาพเชิงการท่องเที่ยวทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบริการ เช่น บริการด้านการเดินทาง ที่พักแรมวิถีริมน้ำ 2) ด้านสิ่งดึงดูดใจ เช่น ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่จับต้องไม่ได้ 3) ด้านการจัดการ เช่น การจัดการเส้นทางท่องเที่ยวที่ปลอดภัย และ 4) ด้านขีดความสามารถในการรองรับของแหล่งท่องเที่ยวต่อจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าเยี่ยมชมในแต่ละวันรวมไปถึงทรัพยากรการท่องเที่ยวทางธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น พร้อมทั้งกิจกรรมการท่องเที่ยวที่สนับสนุนให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้วิถีชีวิตภูมิปัญญาชุมชนวิถีลุ่มน้ำสะท้อนอัตลักษณ์ชุมชนตลาดเก่าริมน้ำ ดังนั้น แนวทางพัฒนาตลาดเก่า ศรีประจันต์ ตลาดเก่าท่าช้างและตลาดเก่าสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวิถีลุ่มน้ำ คือ ยกระดับศักยภาพและการวางรูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนด้านแหล่งท่องเที่ยวและการสร้างองค์ความรู้ให้กับชุมชน ในด้านทักษะการนำชมและการบริการโดยผ่านการเรียงร้อยเรื่องราวของสถานที่และสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้กับนักท่องเที่ยวมุ่งเน้นประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้ทรัพยากรพื้นถิ่น อนุรักษ์และชะลอการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพเชื่อมโยงวิถีชุมชนลุ่มน้ำสู่การท่องเที่ยวทางเลือกใหม่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวิถีลุ่มน้ำอย่างยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์.

การท่องเที่ยวแหงประเทศไทย. (2550). ยุทธศาสตร์การสงเสริมการทองเที่ยวระยะ 5 ป. กรุงเทพฯ: การทองเที่ยวแหงประเทศไทย.

กรมการท่องเที่ยว. (2560). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของประเทศ พ.ศ.2560-2564 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: พีดับบลิว ปริ้นติ้ง.

กองวิจัยการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2557). “ทิศทางการดำเนินงานด้านการตลาดการท่องเที่ยวของ ททท. ปี 2557”. TAT Review Magazine 3/2557

เกศกนก ชุ่มประดิษฐ์ และจิราพร ขุนศรี. (2549). อัตลักษณ์และภาพลักษณ์ของจังหวัดเชียงราย.เชียงราย :สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ชายชาญ ปฐมกาญจนา และนรินทร์ สังข์รักษา. (2558). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตลาดบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. Academic Services Journal Prince of Songkla University, 26(1), 118-129.

ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 13(2), 25-46.

ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ. (2554). แนวคิดและแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อินทนิล.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2557). การท่องเที่ยวเชิงเกษตรสุราษฎร์ธานี การวิจัยฐานทรัพยากรการเกษตรสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 54(3), 202-220.

ธีราพร ทองปัญญา. (2561). การพัฒนาการท่องเที่ยวตลาดน้ำอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของอัตลักษณ์และการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษาตลาดน้ำดำเนินสะดวกจังหวัดราชบุรี. วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 48(2), 181-201.

นวพร บุญประสม. (2559). มิติใหม่แห่งการท่องเที่ยว เพื่อรองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวผู้หญิงโสด. SOUTHEAST BANGKOK Journal, 2(2), 124-132.

นำขวัญ วงศ์ประทุม. (2561). การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร หมู่บ้านวาวี จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(2), 132-150.

พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน Community based tourism handbook. กรุงเทพฯ: โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ.

ยานุมาศ สร้อยเสือ. (2551). ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวของชุมชนอัมพวา [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรีศักร วัลลิโภดม. ( (2543). สังคม – วัฒนธรรม ในวิถีการอนุรักษ์. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.

สมเกียรติ สัจจารักษ์ และคีรีบูน จงวุฒิเวศย์. (2556). แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อรักษาอัตลักษณ์ชาวเลมอแกน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 192-201.

รัชนีวรรณ บุญอนนท์. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากมรดกทางวัฒนธรรมตำบลไตรตรึงษ์เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ, 11(3), 267-278.

สุพร บุญปก. (2551) การศึกษาแนวทางการพัฒนากิจกรรมนันทนาการตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสาวภา พรสิริพงษ์ และคณะ. (2551). วิถีชุมชนลุ่มน้ำนครชัยศรี (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.

Djukic, A., & Vukmirovic, M. (2012). Creative cultural tourism as a function of competitiveness of cities. TTEM- Technics Technologies Education Management, 7(1), 404-410.

Du Cros, H., & McKercher, B. (2014). Cultural tourism. Routledge.

Greg Richards. (2001). Creating a New Tourism? In tourism I culture: Debats del Congresde Turisme Cultural, Interarts Foundation. Barcelona.

Leslie, D., & Sigala, M. (2005). International Cultural Tourism: Management, Implications and Cases. Elsevier Butterworth-Heinemann.

McKercher, B. and Hilary du Cros. (2002). Cultural Tourism: The Partnership between Tourism and Cultural Heritage Management. New York: The Haworth Hospitality Press.

Schianetz, K., Kavanagh, L., & Lockington, D. (2007). The Learning Tourism Destination: The potential of a learning organization approach for improving the sustainability of tourism destinations. Tourism Management, 28(6), 1485-1496. doi: 10.1016/j.tourman.2007.01.012

Worrakawin, K. (2020). Creativity for Perceptual Tourism in Sandstone Geomorphology of Pa-Tam and Sam-Pan-Bok Geologic Park, Ubon Ratchathani Province. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences. 3(2), 156-169.

Yuling Zhang, Xiao Xiao, Chunhui Zheng, Lan Xue, Yongrui Guo & Qitao Wu. (2020) Is tourism participation in protected areas the best livelihood strategy from the perspective of community development and environmental protection?. Journal of Sustainable Tourism, 28(4), 587-605. DOI: 10.1080/09669582.2019.1691566