คุณค่าทางวิชาชีพและจรรยาบรรณที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ในการปฏิบัติงานของนักบัญชีในเขตภาคกลาง

Main Article Content

สิริพร กรรณศร
ประเวศ เพ็ญวุฒิกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาคุณค่าทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชีในเขตภาคกลาง และ 2) เพื่อศึกษาจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชีในเขตภาคกลาง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักบัญชีในเขตภาคกลาง จำนวน 400 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณหาค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานคือ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20 – 30 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์ทำงานทางด้านบัญชีน้อยกว่า 5 ปี คุณค่าทางวิชาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย ด้านความตั้งใจในการปฏิบัติงานอยู่ลำดับแรก รองลงมาด้านความรับผิดชอบในหน้าที่และสังคม และด้านการพัฒนาอาชีพอย่างต่อเนื่องตามลำดับ ส่วนจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้าน คือ ด้านการรักษาความลับ และด้านความโปร่งใส อยู่ในระดับมาก 4 ด้าน คือ ด้านพฤติกรรมทางวิชาชีพ ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ด้านความเที่ยงธรรมและความเป็นอิสระ และด้านความรู้ ความสามารถ ความเอาใจใส่และการรักษามาตรฐานในการปฏิบัติงานตามลำดับ ซึ่งคุณค่าทางวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชีในเขตภาคกลางในด้านการบรรลุเป้าหมายความสำเร็จ ด้านกระบวนการปฏิบัติงาน ด้านมาตรฐานและความเชื่อถือได้ และด้านความพึงพอใจของทุกฝ่าย อย่างมีระดับนัยสำคัญของสถิติที่ 0.01 ดังนั้น นักบัญชีควรให้ความสำคัญ รวมถึงผู้บังคับบัญชาจะต้องส่งเสริมบุคลากรทางด้านคุณค่าทางวิชาชีพ และสร้างความตระหนักถึงจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีที่จะส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ทำให้องค์กรบรรลุตามวัตถุประสงค์ และเป็นแนวทางในการปรับใช้ในการปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จในการทำงานต่อไป

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562, 30 ตุลาคม). สถิติของผู้ทำบัญชี. https://www.dbd.go.th/more_ news.php?cid=433

กานดา แซ่หลิ่ว. (2560). ศักยภาพทางการบัญชีมีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชีในจังหวัดสมุทรปราการ. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

เกรียงไกร บุญเลิศอุทัย และ ดนุชา คุณพนิชกิจ. (2555). IES2 ต่อการพัฒนาหลักสูตรปริญญาตรีทางการบัญชี. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 34(4), 123-138.

ขวัญชัย ชมศิริ และ กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขตกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2 (น. 490-504). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ชัยนรินทร์ วีระสถาวณิชย์. (2548). International Education Standards for Professional Accountants (IES). สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย, 1(4), 1-12.

ชุรีพร เมืองจันทร์, ศรีรุ่งรัตน์ สุดสมบูรณ์, และ ณัฐวุฒิ ตันติเศรษฐ. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาบรรณการบัญชีบริหารกับประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีธุรกิจผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(3), 48-57.

ณัฏฐ์รมณ ศรีสุข และ กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2560). สมรรถนะทางการบัญชีสมัยใหม่ที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีและกรุงเทพมหานคร. ใน ยุทธกร ฤทธิ์ไธสง (บ.ก.), ประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 7 (น. 950-960). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ดรุณวรรณ แมดจ่อง, สุบรรณ เอี่ยมวิจารณ์, และ จิระทัศน์ ชิตทรงสวัสดิ์. (2552). ผลกระทบของเจตคติในวิชาชีพบัญชีที่มีต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชีธุรกิจ SMEs ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2(2), 110-120.

ธรารินทร์ ใจเอื้อพลสุข และ กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 17(1), 89-101.

นริษา ทองมณี. (2556). คุณลักษณะของผู้สอบบัญชีที่ส่งผลต่อคุณภาพงานสอบบัญชีและความสำเร็จในงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สำนักหอสมุดกลางคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2010/9357/1/374089.pdf

นิพนธ์ เห็นโชคชัยชนะ และ ศิลป์พร ศรีจั่นเพชร. (2545). การสอบบัญชีและให้ความเชื่อมั่น (พิมพ์ครั้งที่ 2). ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีพีเอ็น เพรส.

ปุณยวีร์ ท่ากระเบา และ ประเวศ เพ็ญวุฒิกุล. (2560). อิทธิพลของความรู้ความสามารถทางการบัญชีต่อความสำเร็จในการปฏิบัติของเสมียนการเงินในระดับมณฑลทหารบกสังกัดกองทัพภาคที่ 1. ประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 4 (น. 2169-2179). มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

พัชรี วิชัยดิษฐ์ และ ชลกนก โฆษิตคณิน. (2564). แนวทางการพัฒนาศักยภาพทางการบัญชีที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชีสหกรณ์ในประเทศไทย. วารสารศิลปการจัดการ, 5(1), 150-164.

พินยา พลแก้ว, จุลสุชดา ศิริสม, และ ไตรรงค์ สวัสดิกุล. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อวิชาชีพกับความสำเร็จในการทำงานของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9(2), 196-205.

เมธา หริมเทพาธิป. (2561, 15 เมษายน). ทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของแมคคลีแลนด์. Gotoknow. https://www.gotoknow.org/posts/646480

โมลี สุทฺธิโมลิโพธิ. (2563). ลักษณะของบุคคลที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์. วารสารพุทธจิตวิทยา, 5(2), 11-16.

วราพร กลิ่นประสาท. (2558). ผลกระทบของจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในจังหวัดลำปาง. วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง.

ศศธร บริสุทธิ์นฤดม. (2557). คุณลักษณะของผู้ควบคุมงานด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในงานก่อสร้าง[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร. http://www.sure.su.ac.th/xmlui/ handle/123456789/354

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2561). ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี ว่าด้วยจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2561. https://www.tfac.or.th/Article/Detail/66981

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). แผนพัฒนาภาคกลางและพื้นที่กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2560 – 2565 ฉบับทบทวน. https://www.nesdc.go.th/ ewt_dl_link.php?nid=7525

สุจิตตรา แสนชัย, ศรีรุ่งรัตน์ สุดสมบูรณ์, และ พีระวัฒน์ ไชยล้อม. (2560). ผลกระทบของจริยธรรมทางวิชาชีพบัญชีสมัยใหม่ที่มีต่อความสําเร็จในการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9(3), 58-68.

สุธิมา แย้มละมุล, พรลภัส สุวรรณรัตน์, และ ไพรัช พรพันธ์เดชวิทยา. (2554). ผลกระทบของจริยธรรมทางการบัญชีที่มีต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชีสหกรณ์ออมทรัพย์ครูในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 4(3), 12-20.

สุพัตรา รักการศิลป์, เอมอร แสวงวโรตม์, และ ผกามาศ มูลวันดี. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีกับประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชี ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สุลิตา สุปิณะ, อรยา เรียบไธสงค์, และ ธิติรัตน์ วงษ์กาฬสินธุ์. (2563). การศึกษาทักษะทางวิชาชีพบัญชีที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชี: กรณีศึกษานักบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(1), 123-132.

สุวรรณ หวังเจริญเดช. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพความคิดสร้างสรรค์กับความสำเร็จของนักบัญชีธุรกิจ SMEs ในเขตภาคใต้. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 29(111), 45-55.

อมร โททำ. (2561). ผลกระทบของความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีและจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีที่มีต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของบริษัทจำกัดในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(2), 85-99.