การพัฒนาการบริหารจัดการเกี่ยวกับปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อ การจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

สังวาร วังแจ่ม
ธีระภัทร ประสมสุข
สุรัตน์ ศรีดาเดช
เสกชัย ชมภูนุช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่ และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการเกี่ยวกับปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงอนาคต เทคนิคเดลไฟ (DELPHI TECHNIQUE) กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเลือกแบบเจาะจงจาก คณบดี ประธานหลักสูตร และ อาจารย์ประจำหลักสูตร ในคณะที่มีจำนวนนักศึกษาสูงที่สุด 3 อันดับแรกและหลักสูตรยอดนิยม 1 หลักสูตร ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่ รวมกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ยรายด้านในระดับมากทุกด้าน คือ ปัจจัยด้านเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจ ด้านระบบราชการ ด้านการเมือง และด้านวัฒนธรรม ตามลำดับ แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการเกี่ยวกับปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่ มีดังนี้ ด้านเทคโนโลยี คือสถาบันการศึกษาควรนำเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีการขนส่ง เทคโนโลยีการผลิต นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีชีวภาพ ฯลฯ ในการเพิ่มศักยภาพของบัณฑิตให้สอดคล้องกับการแข่งขันของประเทศและทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกโดยใช้รูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย ด้านเศรษฐกิจ คือ ควรพัฒนาบัณฑิตให้สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ที่มีคุณค่าต่อระบบเศรษฐกิจทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติและระดับนานาชาติ ด้านระบบราชการ คือ ควรให้ความสำคัญและมอบหมายบุคลากรที่มีความสามารถ เหมาะสม ในการประสานงานให้สอดคล้องกับระบบราชการ ด้านการเมือง คือควรให้แนวคิดแก่บัณฑิต ให้รู้จักคิดแยกแยะ รู้จักการเอาตัวรอดในทางที่ถูกต้อง ยอมรับความเห็นต่างภายใต้เงื่อนไข กฎระเบียบของสังคมโดยไม่สร้างความเดือดร้อนแก่สังคมในภาพรวม และด้านวัฒนธรรม คือ สถาบันการศึกษา ควรกระจายอำนาจภายในสถาบันให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามภารกิจของมหาวิทยาลัยให้มากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กองแผนงานสำนักงานอธิการบดี. (2553). รายงานผลการสำรวจการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม .มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย. (2564). อนาคตการศึกษาไทย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2556). การคิดเชิงสร้างสรรค์ (พิมพ์ครั้งที่ 10). ซัคเซสมีเดีย.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2560, 12 มิถุนายน). วิเคราะห์ 5 ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการศึกษาไทย. การศึกษา http://www.kriengsak.com/node/1040.

เกษม วัฒนชัย. (2554, 18 เมษายน). เอกชน-ท้องถิ่นร่วมจัดการศึกษา "องคมนตรี" ชี้แนวโน้มการศึกษาโลก. คมชัดลึก 1. https://www.komchadluek.net/news/edu-health/94897

ตุนท์ ชมชื่น, อดิศักดิ์ ย่อมเยา, คฑาเทพ จันทร์เจริญ, เปี่ยมพร สุทินฤกษ์ และ จีราพร วงค์ขัติย์. (2563).

รูปแบบการบริหารคุณภาพสถาบันอุดมศึกษาขนาดเล็ก: กรณีศึกษาวิทยาลัยเชียงราย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 13(1), 20-36.

ประหยัด พิมพา.(2561). การศึกษาไทยในปัจจุบัน. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 7(1), 242-249.

ปาริญา รักษาทรัพย์ และ นิษฐ์วดี จิรโรจน์ภิญโญ. (2563). การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนภายใต้กรอบการประกันคุณภาพการศึกษาแนวใหม่. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(1), 308-319.

ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2555). ครูสร้างคน คนสร้างศิลป์. กรุงเทพฯ: ช.พรรุ่งโรจน์.

พิชฌาย์วีร์ สินสวัสดิ์ และ นพดล เจนอักษร. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐของวิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย,6(1), 27-42.

วรสิทธิ์ เจริญพุฒ และ เพ็ญศรี ฉิรินัง. (2558). การวิจัยเชิงอนาคตด้วยเทคนิคเดลฟาย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(3) ,29-35.

ศรุดา ชัยสุวรรณ, เสน่ห์ สีตลารมณ์ และ วีรจักร แสงวงศ์. (2563). การพลิกโฉมอุดมศึกษาไทยในยุคภาวะวิกฤตผู้เรียน. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 6(1), 686-702.

ศิริพงศ์ รักใหม่. (2558). พัฒนาการและแนวโน้มสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริพงษ์ มาณะศรีและเดช สาระจันทร์. (2563). สัมภาษณ์อาจารย์ประจำหลักสูตรการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่.

สันติธาร เสถียรไทย. (2563, 13 มกราคม). มหาวิทยาลัย 2020–เรียนรู้ไร้พรมแดน.https://www.the101.world/university-2020.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). เอกสารการบรรยายพิเศษมาตรฐานการศึกษาสู่การยกระดับคนไทยยุค 4.0. บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560–2564). สํานักนายกรัฐมนตรี.

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์. (2561, 28 พฤษภาคม). การศึกษาแบบมีส่วนร่วม กุญแจสำคัญเปลี่ยนประเทศ. ประชาชาติธุรกิจ.

อมรวิชช์ นาครทรรพ และคณะ. (2556). อุดมศึกษาไทยในรอบศตวรรษ. หยินหยางการพิมพ์.

Murry, J.W, & Hammons, J.O. (1995). Delphi: A versatile methodology for conducting qualitative research. The Review of Higher Education, 18(4), 423-436.

Spencer, L.M. & Spencer, S.M. (1993). Competence at work: Model for Superior Performance. John Wiley & Sons. p