การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

Main Article Content

อุมาพร พิมพ์สุตะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 2) ศึกษาระดับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และ 3) ศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1 โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 360 คน โดยทำการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .973 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


              ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนตามการรับรู้ของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 อยู่ในระดับมาก 2) การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 อยู่ในระดับมาก 3) การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 พบว่า ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ด้านการวัดผลประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน และด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครู มีค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ (R) เท่ากับ .763 สามารถอธิบายความแปรปรวนของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูได้ร้อยละ 58.20 (R2 = .582) และมีค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน (β) เท่ากับ .376 .242 และ .221 ตามลำดับ

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

เกล้าฟ้า ทองสนธิ. (2557). การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา การประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) รอบที่ 3 โรงเรียนสังกัดเทศบาลจังหวัดชลบุรี และเมืองพัทยา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

จตุรภัทร ประทุม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: บุ๊คพ้อยท์.

จิรพิพรรธ ธรรมแท้. (2557). การบริหารวิชาการที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชัชวินทร์ สิงห์สู่ถ้ำ. (2558). รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ทองม้วน โยธชัย. (2561). โปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21 [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทวีวัฒน์ ข่วงทิพย์. (2562). ปัจจัยการบริหารวิชาการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ธีรวัฒน์ มอนไธสง. (2561). การบริหารสถานศึกษาอย่างผู้บริหารมืออาชีพ. พระนครศรีอยุธยา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประยงค์ ศรีโทมี. (2561). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 20 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พิพัฒน์ นิรนาทกูล. (2563). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.

ภรภัทร เฮ็งนิรันดร. (2557). ปัญหาและแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

มณสินี เจริญไชยนาวงศ์ และ ปทุมพร เปียถนอม. (2563). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 14(2), 72-82.

รัตนา ฟูมั่น, ภุมิพิพัฒน์ รักพรมงคล และเพชรา บุดสีเทา. (2559). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38. การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 3 (น. 1742-1754). มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2554). การบริหารงานวิชาการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 5). สงขลา: นำศิลป์.

สมาน อัศวภูมิ. (2553). การบริหารการศึกษาสมัยใหม่: แนวคิด ทฤษฎี และการปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 5) อุบลราชธานี: อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์.

สุรเชษฐ เดชประสิทธิ์. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุรีพร แก้วโพธิ์. (2561). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดนครนายก. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อภิชัย พันธเสน และคณะ. (2558). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์การสังเคราะห์งานวิจัยว่าด้วยปัญหาและข้อเสนอแนะในกระบวนการศึกษาไทย: ประเด็นปัญหาคุณภาพการศึกษา (2535-2558). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย.

Ishmeal, D.& Agu-Monsan. (1999). Let and of the Cross-Cultural Learner Center. Concept Function Cultural Literacy. Toronto: University of Toronto.