การศึกษาขนาดอิทธิพลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบแอโรบิกมวยไทยต่อสมรรถภาพทางกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

Main Article Content

ทนงศักดิ์ ทองศรีสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขนาดอิทธิพลของการออกกำลังกายด้วยโปรแกรม แอโรบิกมวยไทยต่อสมรรถภาพทางกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบศึกษากลุ่มเดียววัดก่อน-หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชากีฬาเพื่อสุขภาพ ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 45 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มเลือกแบบง่าย ทดสอบความแตกต่างของสมรรถภาพทางกายระหว่างก่อนและหลังการทดลองโดยใช้การทดสอบแบบ Paired-samples t-test และวิเคราะห์ขนาดผลกระทบโดยใช้ดัชนีเอต้าสแควร์  gif.latex?(\eta&space;^2) ผลการวิจัยพบว่า หลังจากออกกำลังกายด้วยโปรแกรมแอโรบิกมวยไทยแล้วสมรรถภาพ ทางกายทุกรายการสูงกว่าก่อนออกกำลังกายด้วยโปรแกรมแอโรบิกมวยไทยอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ผลจากการวิเคราะห์ขนาดผลกระทบโดยใช้ดัชนีเอต้าสแควร์ พบว่า โปรแกรมการออกกำลังกาย แอโรบิกมวยไทยสามารถพัฒนาสมรรถภาพทางกายด้านต่าง ๆ ได้ในระดับปานกลางถึงระดับมากผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการออกกำลังกายแบบแอโรบิกมวยไทยสามารถใช้พัฒนาสมรรถภาพทางกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรีได้

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2562, 19 กันยายน). 10 อันดับการออกกำลังกาย คนไทยปี 2558. https://bit.ly/2TDbkrF

กระทรวงสาธารณสุข. (2561, 10 พฤษภาคม). แผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ. 2561-2573. http://dopah.anamai.moph.go.th.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562, 14 พฤษภาคม). แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของประชาชน อายุ 19-59 ปี. https://www.dpe.go.th

จารุวรรณ ภู่สาลี และสุนิดา ปรีชาวงษ์. (2557). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่เน้นการเต้นแอโรบิกแบบมวยไทยต่อความดันโลหิตและดัชนีมวลกายของผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตเกือบสูง.วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 218-225.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2552). การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชยุต ทะระพงษ์, ปรียาภรณ์ ธนะพงศ์วิศาล, พงศ์พันธ์ วิเชียรวรรณ์, รัตนาภรณ์ นามวงษ์, ทวีวัฒน์ เวียงคํา, และวีระพงษ์ ชิดนอก. (2562). ผลการฝึกมวยไทยต่อการระบายอากาศสูงสุดของผู้ที่มีภาวะอ้วน. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 20(1), 88-98.

ณัฐพล ประภารัตน์. (2555). ผลของการเต้นแอโรบิกแบบมวยไทยที่มีต่อสมรรถภาพทางกายและความพึง พอใจ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. https://bit.ly/3zHUcQO.

ณพงษ์ ร่มแก้ว. (2560). ทักษะและการสอนมวยไทย. หจก. จังหวัดร้อยเอ็ด: อภิชาติการพิมพ์.

ดรุณวรรณ สุขสม. (2561). การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ต่อศักดิ์ แก้วจรัสวิไล. (2559). การสร้างรูปแบบการออกกำลังกายด้วยศิลปะมวยไทยโบราณสำหรับ เยาวชน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 39(2), 77-86.

นิวัฒน์ บุญสม. (2560). การพัฒนาความอ่อนตัวด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(2), 2173-2184.

ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ. (2557, 14 ธันวาคม). หัวใจของนักกีฬา และผู้ออกกำลังกายประจำ. http://www.bangkokhealth.com

สมชาย ลี่ทองอิน. (2562, 14 พฤษภาคม). คู่มือการทดสอบสมรรถภาพทางกาย (Physical Fitness Testing) สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข. https://bit.ly/3iMo1ZQ

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2561, 28 มีนาคม). โปรแกรมวิเคราะห์ผลการทดสอบ สมรรถภาพทางกาย- สสส. https://bit.ly/2UTbjjV.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2540). ศิลปะมวยไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ครุสภา.สำเริง ไกยวงค์. (2560).ขนาดผลกระทบ: ผลลัพธ์ที่สำคัญที่สุดของการทดสอบสมมติฐาน. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(1), 276-286.

Kotecki, J.M. (2014). Physical activity and health: An interactive approach (4th ed.). Burlington, MA: Jones & Bartlett Learning.

Privitera, G. J. (2015). Statistics for the behavioral sciences (2nd ed.). USA: Sage Publication.

Yamane, T. (1973). Statistics an introductory analysis. New York: Harper & Row.