การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อจัดการเศษวัสดุที่เหลือจากการแกะสลักผัก และผลไม้ให้เป็นผลิตภัณฑ์สีเขียว สาขาคหกรรมศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

Main Article Content

รักชนก อินจันทร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมและออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่สามารถจัดการเศษวัสดุที่เหลือจากรายวิชาการแกะสลักผักและผลไม้เป็นผลิตภัณฑ์สีเขียว และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนรายวิชาการแกะสลักผักและผลไม้ จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบบันทึกการประชุมระดมสมองกลุ่ม แบบประเมินวัสดุเขียว และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การจัดการเศษวัสดุที่เหลือจากการแกะสลักผักและผลไม้สู่ผลิตภัณฑ์สีเขียว ผลการวิจัยพบว่า การจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้สามารถนำหลักการเพิ่มผลผลิตสีเขียว ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน โดยจัดกิจกรรม จำนวน 13 กิจกรรม กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าเศษผักและผลไม้สามารถพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์สีเขียวได้ เนื่องจากเป็นวัสดุธรรมชาติไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม โดยการแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำไปใช้ได้ในครัวเรือนด้วยการแยกน้ำและกาก สร้างเป็นผลิตภัณฑ์ได้ 5 ชนิด คือ 1) สบู่ล้างมือชนิดก้อน 2) ผลิตภัณฑ์ทำความภาชนะเครื่องใช้ 3) กระถางดอกไม้จากเศษผักและผลไม้ 4) ปุ๋ยหมักจากเศษผักและผลไม้ชนิดน้ำ 5) ปุ๋ยหมักจากเศษผักและผลไม้ชนิดเม็ด ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดผ่านเกณฑ์ประเมินคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์สีเขียวจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 4 ด้านในระดับมาก ความพึงใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถจัดการเศษวัสดุที่เหลือจากรายวิชาการแกะสลักผักและผลไม้เป็นผลิตภัณฑ์สีเขียว ในระดับมาก

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2563). รายงานประจำปี 2563. สำนักงานเลขานุการกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กรมควบคุมมลพิษ. (2559). หลักการ 3Rs. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. http://www.kwaeom.go.th/site/images/stories/file/Garbage/3rs.pdf

ปิญชาน์ ศรีสังข์. (2553). “GREEN PRODUCTIVITY” เพิ่มผลิตภาพอุตสาหกรรมไทย อย่างใส่ใจสิ่งแวดล้อม. สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.

มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. (2564). หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับรองฉลากเขียว. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. http://www.tei.or.th/greenlabel/name-list.html

รสสุคนธ์ มกรมณี. (2550). วิธีการเชิงระบบในการออกแบบการเรียนการสอน. วารสารการศึกษาไทย มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา, 4(33), 54-59.

วีรวุธ เลพล. (2563). การจัดการเศษวัสดุเหลือทิ้งจากหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงอัดแท่งโดยใช้เตาเผาถ่านขนาด 200 ลิตร (แบบตั้ง). วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 13(2), 46-52.

สันทนา อมรไชย. (2552). ผลิตภัณฑ์สีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ, 57(179), 29-36.

สมจิต จันทร์ฉาย. (2557). ตำราประกอบการสอนการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

แห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย. (2555). รายงานสถานการณ์ของเสียอันตรายจากชุมชน. สำนักงานจัดการกากของเสียและสารอันตราย. กรมควบคุมมลพิษ.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2559). TOA Training Program 2017. สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม.

อำพล พาจรทิศ, มนตรี แย้มกสิกร, ทิพย์เกสร บุญอำไพ. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(2), 399-408.