ข้อเสนอกลยุทธ์การสื่อสารสร้างสุขในการทำงานของบุคลากร กรณีมหาวิทยาลัยราชภัฏภูมิภาคอีสานใต้

Main Article Content

พงษ์ศักดิ์ ทองพันชั่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อนำเสนอกลยุทธ์การสื่อสารสร้างสุขในการทำงาน ของบุคลากรในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏภูมิภาคอีสานใต้ โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ได้แก่ 1.) เพื่อศึกษาสภาพการติดต่อสื่อสารและความสุขจากการสื่อสารในการทำงาน 2.) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การสื่อสารสร้างสุขในการทำงาน และ 3. เพื่อประเมินกลยุทธ์การสื่อสารสร้างสุขในการทำงาน ของบุคลากรในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏภูมิภาคอีสานใต้ 


กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ ภูมิภาคอีสานใต้ 3 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ สุรินทร์และบุรีรัมย์ ประกอบด้วย สายวิชาการ 338 คน และสายปฏิบัติการ 324 คน รวมทั้งสิ้น 662 คน ผู้วิจัยกำหนดขนาดโดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Taro Yamane (Yamane,1967: 887) ที่ระดับความเชื่อมั่น 99% ค่า Z =2.28 เมื่อความคลาดเคลื่อน (e) เป็น 5% จากเกณฑ์ประชากร 2,500 คน ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 662 คน แล้วกำหนดจำนวนตามสัดส่วนของประชากรในแต่ละมหาวิทยาลัยและแต่ละหน่วยงานภายใน  จากนั้นใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น (Proportional Stratified  Random Sampling ) (บุญเรียง ขจรศิลป์, 2553 : 129) เพื่อให้ได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่จะตอบแบบสอบถามของการศึกษา


วิจัยครั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบประเมินกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ระดับสภาพการติดต่อสื่อสารในการทำงานของบุคลากร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยการติดต่อสื่อสารในแนวนอนของบุคลากรมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดอยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ การสื่อสารแบบครบมิติ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และการสื่อสารในแนวทแยง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากตามลำดับ ทั้งนี้การติดต่อสื่อสารที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ การติดต่อสื่อสารจากล่างขึ้นบน แต่อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน ส่วนระดับความสุขจากการสื่อสารในการทำงานของบุคลากรโดยภาพรวม มีค่าแฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยด้านคุณภาพจิตใจ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดอยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ ด้านสมรรถภาพจิตใจ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และด้านความรู้สึกที่ดี มีค่าเฉลี่ย

    อยู่ในระดับมากตามลำดับ ส่วนระดับความสุขจากการสื่อสารในการทำงานของบุคลากรที่มีค่าเฉลี่ยต่ำ


    ที่สุด ได้แก่ ด้านความรู้สึกที่ไม่ดี  มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง


    1. ผลการสร้างกลยุทธ์การสื่อสารสร้างสุขในการทำงานของบุคลากร กรณีมหาวิทยาลัยราชภัฏภูมิภาคอีสานใต้ มีองค์ประกอบ 6 ด้าน ได้แก่ วิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission)  เป้าประสงค์ (Goals) ประเด็นกลยุทธ์ (Strategies) มาตรการและตัวชี้วัดความสำเร็จ


    3. ผลการประเมินกลยุทธ์การสื่อสารสร้างสุขในการทำงานของบุคลากร กรณีมหาวิทยาลัยราชภัฏภูมิภาคอีสานใต้ (โดยรวม) ด้านความเป็นไปได้ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ ด้านความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก โดยมีด้านความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด แต่อยู่ในระดับมาก เช่นเดียวกัน

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. (2560). “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 - 2564”. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

จำเริญ จิตรหลัง, (2562). กลยุทธ์การยกระดับผลสัมฤทธิ์ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร.

ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์. (2554). งานได้ผล คนเป็นสุข. Healthy organization Healthy Productivity. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

ฐิติวัจน์ ทองแก้ว และประสพชัย พสุนนท์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. Veridian E-Journal Silpakorn University, 10(1), 1943-1958.

บุญเรียง ขจรศิลป์. (2553). วิธีวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: พี.เอ็น.การพิมพ์.

ปรีชา ดาวเรือง. และคณะ, (2561). กลยุทธ์การจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. Journal of Nakhonratchasima College, 12(1), 47-61.

ปรียนุช ชัยกองเกียรติ สาธิมาน มากชูชิต และอนุชิต คลังมั่น, (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างสมดุลชีวิต กับการทำงาน ดัชนีความสุขของคนทำงานกับความผูกพันในองค์กรของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนียะลา. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 6(พิเศษ), 1-10.

แผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน. (2552). เครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตคนทำงานในภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ คู่มือการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตคนทำงานในสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ: สสส.

พระครูศรีรัตนาภิรัต (ปิยนันท์ ปิยจิตฺโต). (2561). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนการกุศลของวัดพระพุทธศาสนาในภาคกลาง [ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิมพ์วิมล วงศ์สมุทร ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์ และ ปิยฉัตร ล้อมชวการ. (2562). การสื่อสารภายในองค์กรของสำนักส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน). วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 11(2), 314-324.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.(2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบิกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก.

ศิริเชษฐ์ สังขะมาน, (2556). องค์กรต้นแบบคุณภาพชีวิตการทำงาน (ภาครัฐ). กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาองค์การและการเรียนรู้ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และคณะ, (2557). คุณภาพชีวิตการทำงานและความสุข. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศุภโชค มณีมัย และคณะ, (2560). การพัฒนาประสิทธิภาพการสื่อสารในองค์กรของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร , 8(1). 106-115.

นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, (2552). แผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน. กรุงเทพฯ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564). กรุงเทพฯ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552- 2561). กรุงเทพฯ. บริษัทพริกหวานกราฟิค จำกัด.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed) New York: Harper and Row Publications.