ปัญหาการเพิ่มช่องทางในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาเพื่อการท่องเที่ยว: กรณีศึกษาหมู่บ้านด่านเกวียน ตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

กิตติศักดิ์ กลิ่นหมื่นไวย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการเพิ่มช่องทางในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาเพื่อการท่องเที่ยว และเพื่อเสนอแนวทางการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาเพื่อการท่องเที่ยว หมู่บ้านด่านเกวียน ตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยมีการสุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวจำนวน 400 คน ใช้วิธีการศึกษาเชิงปริมาณ โดยการใช้แบบสอบถามนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในพื้นที่หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาเพื่อการท่องเที่ยวและการศึกษาเชิงคุณภาพโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาเพื่อการท่องเที่ยวจำนวน 10 คน แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ยและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวิเคราะห์ปัญหาการเพิ่มช่องทางในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาเพื่อการท่องเที่ยว หมู่บ้านด่านเกวียน ตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นของพฤติกรรมนักท่องเที่ยว ผู้บริโภค อุปโภคที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาเพื่อการท่องเที่ยว หมู่บ้านด่านเกวียน ตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน ดังนี้ ด้านบุคคล รองลงมาด้านราคา ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด และ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ซึ่งปัญหาช่องทางในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาเพื่อการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านทางพ่อค้าคนกลาง จึงทำให้ขาดการสื่อสารโดยตรงกับลูกค้าและช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านสื่อออนไลน์ยังไม่มีความหลากหลาย แนวทางการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาเพื่อการท่องเที่ยว หมู่บ้านด่านเกวียน ตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ผู้ประกอบการควรมีการจำหน่ายทั้งปลีกและส่ง ควรมีการขยายตลาดเป็นการเพิ่มโอกาสในการเพิ่มยอดขาย ให้หน่วยงานภาครัฐหรือสถาบันการศึกษาเป็นศูนย์กลางในการสร้างเว็ปไซต์หรือแอพลิเคชั่นซื้อขายผลิตภัณฑ์ออนไลน์ ควรมีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มช่องทางการส่งเสริมการขายเพื่อขยายกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ เป็นการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายจะสามารถเพิ่มโอกาสในด้านการผลิตที่มากขึ้น เพิ่มศักยภาพการบริการของบุคลากรรวมไปถึงสามารถสร้างเครือข่ายในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาเพื่อการท่องเที่ยว

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)
Author Biography

กิตติศักดิ์ กลิ่นหมื่นไวย, สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม  คณะบริหารธุรกิจ สำนักอธิการบดี ชั้น 1 อาคารมุขปราณี มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล 84 หมู่ 4 ถนนมิตรภาพ - หนองคาย ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง   จังหวัดนครราชสีมา 30000

References

ณัฐพงษ์ ศรีใจวงศ์, ศรวัสย์ สมสวัสดิ์และสุวิทย์ นามบุญเรือง. (2563) การศึกษาการเพิ่มช่องทางในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น“มีดพร้า”: กรณีศึกษา หมู่บ้านขามแดง อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(11), 48-62.

ทัศนีย์ บัวระภา. (2559). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการย้อม สีธรรมชาติจากมะเกลือ ณ ชุมชนบ้านหัวสะพาน อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 12 (น. 222-229). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธงชัย สันติวงษ์. (2554). พฤติกรรมบุคคลในองค์การ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เจริญพัฒน์.

ประสิทธิ์ รัตนพันธ์, มณีรัตน์ รัตนพันธ์และจาริณี แซ่ว่อง. (2561). การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทอาหารในจังหวัดสงขลา. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 11(4), 42-51.

สุวนาถ ทองสองยอดและภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา. (2561). แนวทางการพัฒนาช่องทางการตลาดของผลิตภัณฑ์เกลือตำบลบ้านนา จังหวัดปัตตานี. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 13(1), 14-28.

ศรีสุดา ลีลาสุวัฒน์. (2558). แนวทางการพัฒนาการตลาดสินค้า OTOP สู่สากล อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดนครราชสีมา. (2563, 8 กุมภาพันธ์). ข้อมูลสถิตินักท่องเที่ยว. https://nakhonratchatchasima.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=359.

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครราชสีมา. (2563). รายงานการดําเนินโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีจังหวัดนครราชสีมา. สํานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครราชสีมา.

สำนักงานสภาพัฒนาการการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale.Reading in Fishbeic, Fishbeic, Matin Ed. Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.

Zeithaml, V. A., & Bitner, M. J. (1996). Service Marketing: Customer Focus Across the Firm. (2nd ed). Massachusetts: McGraw-Hill.