การศึกษาการปฏิบัติตนด้านคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1

Main Article Content

เลิศสุขุม ป่งสุด
สุรัติ จีระพงษ์
ชวนคิด มะเสนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการปฏิบัติตนด้านคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติตนด้านคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการปฏิบัติตนด้านคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต1 จำนวน 316 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และการทดสอบค่า F ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติตนด้านคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อการปฏิบัติตนด้านคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต1 พบว่าจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จำแนกตามระดับการศึกษา ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนจำแนกตามเพศ ไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการปฏิบัติตนด้านคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า (1) การครองตน ผู้บริหารควรเป็นผู้ที่ประพฤติและปฏิบัติตน เป็นตัวอย่างแก่บุคคลโดยทั่วไป เป็นผู้ที่ปฏิบัติตามระเบียบกฎหมายที่กำหนดไว้ (2) การครองคน ผู้บริหารควรการให้ความเป็นธรรมต่อบุคลากร ยกย่องชมเชยต่อผู้ใต้บังคับบัญชาเมื่อปฏิบัติงานสำเร็จ สร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน (3) การครองงาน ผู้บริหารควรมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ บริหารงานโดยยึดหลักความโปร่งใส และมีการจัดการที่ทันสมัยให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

จิราภรณ์ ทองศรี. (2554). คุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสิงห์บุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ธีรพงษ์ จินพละ. (2557). พฤติกรรมคุณธรรม จริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา บุรีรัมย์ เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2550). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

_______. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประครอง พงษ์ชนะ. (2557). การบริหารงานบุคคลตามหลักฆราวาสธรรมในการบริหารสถานศึกษาของสังกัดผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พนิตา กําพู ณ อยุธยา. (2563, 22 ตุลาคม). ทุจริตการสอบครูภาพสะท้อนการศึกษาไทย. https://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/ThaiHealth2014/thai2014_21.pdf

มาธวรรย์ อิงแอบ. (2556). พฤติกรรมด้านคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 33 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ยิ่งศักดิ์ ชนะพาล. (2556). พฤติกรรมด้านคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาในทัศนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

วีณา คําคุ้ม. (2561).พฤติกรรมการบริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 ในจังหวัดพังงา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ศิวพร พิลานนท์. (2555). พฤติกรรมด้านการครองตน การครองคน และการครองงานของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อัจฉรา วงษ์ชม. (2554). ภาพและความคาดหวัง พฤติกรรมด้านคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา. (2550). คุณธรรมนำความรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อานันท์ ปันยารชุน. (2542). ผู้นำคือผู้ที่คนอื่นอยากเดินตาม. กรุงเทพฯ: มติชน.

อภิญญา ทุมวารีย์. (2554). การศึกษาพฤติกรรมด้านคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็นจริงและคาดหวังตามทัศนะของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

Carol, E.D. (2021, 22 October). New York State School Board Members’ Attitudes towards School Governance, Finance Practices, Conflict, Teamwork and Board Effectiveness. (Online). http:/www.lib.umi.com/dissertations/

Carroll, D. (2000). Teacher Morale as Relate to School Leadership Behavior (Moral,

Leadership Behaviors). Dissertation Abstracts International, 61(3), 54-02-A.