การเสริมสร้างพลังในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5

Main Article Content

อภิสิทธิ์ พึ่งภพ
วิไลวรรณ พรมสีใหม่
ชวนคิด มะเสนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเสริมสร้างพลังในการปฏิบัติงานของ ข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 2) เปรียบเทียบ การเสริมสร้างพลังในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 จำแนกตาม ตำแหน่ง วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน 3) ศึกษาแนวทาง การเสริมสร้างพลังในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 149 คน ครูผู้สอน จำนวน 333 คน รวม 482 คน ได้จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครซี่และมอร์แกน และสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 60 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.98 2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การเสริมสร้างพลังในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบ การเสริมสร้างพลังในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 จำแนกตามตำแหน่งและวุฒิการศึกษา พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางในการเสริมสร้างพลังในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ควรมีการจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ การส่งเสริมบุคลากรพัฒนาความก้าวหน้าในวิชาชีพ จัดสวัสดิการตามความต้องการ การสร้างแผนพัฒนาบุคลากร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ การวิจัยในชั้นเรียน สะท้อนผลแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลอืน ๆ การสอนเสริมให้ผู้เรียน การมอบรางวัล การเสริมแรงทางบวกและสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน การกระตุ้นให้บุคลากรแสดงศักยภาพออกมา การมอบหมายงานตามภาระหน้าที่และความสามารถ ของแต่ละบุคคล ควรมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน โครงสร้างการบริหารงานที่เป็นระบบ การสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเองและการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

เคบอย สินสุพรรณ์. (2558). การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม จังหวัดกาญจนบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปกร. https://so02.tci- thaijo.org/index.php/EdAd/article/view/113786/88405
ดารารัตน์ อ้นถาวร. (2562). การเสริมสร้างพลังอำนาจที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMSNPRU/article/view/231802
เปรมฤดี จันทะพรหม. (2555). การเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในจังหวัดหนองคาย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=318635
พัชราภรณ์ ธรรมมา. (2561). การเสริมสร้างพลังอำนาจครูของโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. http://www.banmoh.ac.th/IS/5914651832.pdf
ยุพิน ภูมิช่วง. (2562). การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างพลังอำนาจครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid =519159
ยุวธิดา ชาปัญญา. (2554). การเสริมสร้างพลังอำนาจของครูในโรงเรียนประถมศึกษา : การวิจัยทฤษฎีฐานราก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/KKU.the.2011.120
วรัญญา เรือนกาศ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจครู โรงเรียนสังกัดเทศบาล จังหวัดอุตรดิตถ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=497212
ศศิประภา สาชำนาญ. (2559). การใช้พลังอำนาจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. http://fulltext.rmu.ac.th/fulltext/2559/118233/Sasiprapa%20Sachumnan.pdf
สถาพร บุตรไสย์. (2551). อิทธิพลของกระบวนการเสริทสร้างพลังอำนาจที่มีต่อพลังอำนาจครู. วารสารวิธี วิทยาการวิจัย, 21(1), 35-56.
อรุณ โคตรวงษา. (2553). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจครูกับความผูกพันต่องานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตที่การศึกษาเลย เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=2918
Carless. (2004). Does Psychological Empowerment Mediate the Relationship Citizenship Behaviors: A Critical Review of The Theoretical and Empirical Literature and Suggestions for Future Research. Journal Management, 26(3), 115-159.
Conger J. A. and Kanungo R. N. (1988). The empowerment process: Integrating theory and practice. The Academy Management Review, 13(3), 471-482.
Hynes J. (2004). The relationship between the dimensions of teacher empowerment and principal's job satisfaction in elementary accelerated schools. [Doctoral dissertation]. Southern Illinois University Carbondale. https://www.proquest.com/openview/f01269c11fe95f568425c8f0a87d8a2d/
Jackson C. and A. Crossland. (2000). The Relationships Between Teacher Empowerment, Teacher Sense of Responsibility for Student Outcomes, and Student Achievement. Dissertation Abstracts International, 61(5), 1692-A.
Jones S. D. (2000). Teacher empowerment and teacher morale. [Doctoral dissertation]. South Carolina State University. https://www.elibrary.ru/item.asp?id=5270035
Lee A. W. (2012). An exploratory study of teacher empowerment and technical Education in Kentucky. [Doctoral dissertation]. Western Kentucky University Bowling Green KY. https://digitalcommons.wku.edu/diss/38/