การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนในโรงเรียน คุณธรรม สพฐ. โรงเรียนอนุบาลห้วยทับทัน โดยใช้ CIPP Model

Main Article Content

วรัชยา ประจำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนในโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนอนุบาลห้วยทับทัน โดยใช้ CIPP Model ประกอบด้วย ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย จำนวนทั้งหมด 571 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 25 คน นักเรียน จำนวน 318 คน ผู้ปกครอง จำนวน 180 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน และผู้นำชุมชน จำนวน 34 คน ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสังเกตพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน จำนวน 8 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินบริบทของโครงการตามความคิดเห็นของครูอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความเป็นไปได้ของโครงการ และความคิดเห็นของผู้ปกครองอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความสอดคล้องของโครงการกับความต้องการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน 2) ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการตามความคิดเห็นของครูโดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านบุคลากร 3) ผลการประเมินกระบวนการของโครงการ พบว่า 3.1) ผลการปฏิบัติกิจกรรมที่ดำเนินการในโครงการ โดยรวมทุกกิจกรรมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด กิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กิจกรรมเข้าค่ายคุณธรรม 3.2) กระบวนการดำเนินงานโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการดำเนินงาน และ 4) ผลการประเมินผลผลิตของโครงการ พบว่า 4.1) พฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน ได้แก่ คุณธรรมเพื่อการพัฒนาตน โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก พฤติกรรมที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การหลีกเลี่ยงอบายมุข คุณธรรมเพื่อการพัฒนาการทำงาน โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก พฤติกรรมที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความมีวินัย และคุณธรรมเพื่อการพัฒนาการอยู่ร่วมกันในสังคม โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก พฤติกรรมที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความกตัญญูกตเวที 4.2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมของโครงการ และ 4.3) ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การเรียน การทำงานบ้าน และการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในครอบครัวและโรงเรียนได้อย่างเหมาะสม เมื่อพิจารณาผลการประเมินโครงการโดยรวมทั้ง 4 ด้าน พบว่า ผลการประเมินโครงการผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ทุกด้าน

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

จิระพงษ์ สุริยา. (2563). การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนสรรพวิทยาคม. วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์, 1(3), 68-78.

ชูชาติ แปลงล้วน. (2563). การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนในโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(7), 379-393.

นฤมล วิทยาวุฒิรัตน์. (2562). การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนคลองเมืองพิทยาคม. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2(4), 97-107.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

มาลัยรัตน์ สุขกาว. (2561). รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลตรัง ปีการศึกษา 2561. โรงเรียนอนุบาลตรัง.

ศูนย์โรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ. (2560). กระบวนการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม ทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ. สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). โรงเรียนคุณธรรม สพฐ. มาตรฐานและตัวชี้วัด. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2557). แนวทางการประเมินคุณธรรมของผู้เรียน (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2557). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุรชัย มีชาญ. (2547). ดัชนีความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 10(2), 113 - 126.

Stufflebeam, D. L. & Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation Theory, Models and Applications. Jossey-bass.

Willems, F., Denessen, E., Hermans, C. & Vermeer, P. (2012). Students' perceptions and teachers' self-ratings of modeling civic virtues: An exploratory empirical study in Dutch primary schools. Journal of Moral Education, 41(1), 1-17.