การพัฒนาเอกสารประกอบการสอนวิชาหลักการตลาด ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น สำหรับนักศึกษาวิทยาลัยชุมชนบุรีรัมย์

Main Article Content

ศศิพิสุทธิ์ หงษ์สมบัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเอกสารประกอบการสอนวิชาหลักการตลาดร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการสอนวิชาหลักการตลาด ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการสอนวิชาหลักการตลาด ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาจำนวน 16 คน หลักสูตรอนุปริญญาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 วิทยาลัยชุมชนบุรีรัมย์ ได้มาโดยการสุ่มจำแนกกลุ่ม แบบแผนการทดลองแบบทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เอกสารประกอบการสอนวิชาหลักการตลาด 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการสอนวิชาหลักการตลาด ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักการตลาด 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพ E1/E2 และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้วิธีทดสอบแบบ The Wilcoxon signed - rank test ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการสอนวิชาหลักการตลาดร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น มีประสิทธิภาพซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 83.25/ 83.33 2) นักศึกษาที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการสอนวิชาหลักการตลาด ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) นักศึกษาทีเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการสอนวิชาหลักการตลาด ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

ธัญทิพ บุญเยี่ยม, และ ปัญญณัฐ ศักดิ์สิทธานุภาพ. (2560). การสร้างและการพัฒนาเอกสารประกอบการสอน รายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวในท้องถิ่น. วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 1(2), 113-124.

นับ บริกล. (2555). การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้เอกสารประกอบการเรียนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยทักษิณ. http://kb.tsu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/2377/1/%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%9A%20%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B

ประเสริฐ ภู่ถนนนอก. (2561). การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนรายวิชาเพิ่มเติม ส33203 กฎหมายที่ประชาชนควรรู้ สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคมโดยใช้การสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(1), 109-121.

เพียงแพน อุปทอง. (2561, 20 มีนาคม). การสร้างและหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการสอนรายวิชาการตลาดบริการ [Paper presentation]. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9 Local & Global Sustainability : Meeting the Challenges & Sharing the Solutions. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ.

ระบบบริการการศึกษาวิทยาลัยชุมชนบุรีรัมย์. (2560). งานทะเบียน วัดผล และประเมินผลนักศึกษา. วิทยาลัยชุมชนบุรีรัมย์. http://register.bcca.go.th/bcca/index.php/MjJ8fGxvZ2lu.

วีณา ประชากูล และ ประสาท เนืองเฉลิม. (2554). รูปแบบการเรียนการสอน. มหาสารคาม : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศศิพิสุทธิ์ หงษ์สมบัติ. (2559). การศึกษาผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติวิชาหลักการตลาด ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559. วิทยาลัยชุมชนบุรีรัมย์.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2560). ครูยุคใหม่ กับการจัดการเรียนรู้ สู่การศึกษา 4.0 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุจิตรา เชื้อกุล. (2559). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและสมบัติของสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.http://www.edu.nu.ac.th/th/news/docs/download/2018_03_30_11_17_26.pdf

สุวิทย์ มูลคำ และ สุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2550). การพัฒนาผลงานทางวิชาการสู่การเลื่อนวิทยฐานะ. ภาพพิมพ์.

สำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน. (2556). การจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กรอบนโยบายและแนวทางการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนและบริการวิชาการของวิทยาลัยชุมชน. โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

อนรรฆพร สุทธิสาร, และ อัมพร วัจนะ. (2564). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วิชา วิทยาศาสตร์ เรื่อง เซลล์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 244-259.

Bybee, R., & Landes, M. (1990). Science for life and living: An elementary school science program from Biological Sciences Improvement Study (BSCS). The American Biology Teacher, 52(2), 92 –98.