ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์

Main Article Content

บาหยัน โคตรพรมศรี
พงษ์ศักดิ์ ทองพันชั่ง
อุดมพันธ์ุ พิชญ์ประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ 2) ศึกษาระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน จากจำนวนประชากร 3,649 คน ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 351 คน จากนั้นใช้การสุ่มแบบง่ายตามสัดส่วนจำนวนบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามลักษณะแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นของ แบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.956 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านความนอบน้อม การเป็นต้นแบบ ด้านการตระหนักรู้ในตนเองและผู้อื่น ด้านการเสริมพลังอำนาจและด้านการบริการ 2) ระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านความก้าวหน้า ด้านลักษณะงาน ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา ด้านการปกครองบังคับบัญชา ด้านการได้รับการยกย่อง ด้านสภาพการทำงาน ด้านเงินเดือน ด้านความรับผิดชอบ และด้านความสำเร็จในงาน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริการและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.773 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กาญจน์ณัฏฐา ศิริเพ็ญ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำให้บริการของผู้บริหาร สถานศึกษากับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา. สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในจังหวัดเลย [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

กันยา เทพกัน. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตบางนา กรุงเทพฯ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

เชิดชัย อุทัยวี. (2549). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สกลนคร เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ณัทฐา กรีหิรัญ. (2550). การศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณัฐฏ์นันท์ ฐานเจริญ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 14(2), 126-128.

ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2558). ภาวะผู้นําเหนือผู้นําแบบภาวะผู้นําแห่งศตวรรษที่ 21. วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(2), 23-36.

ทองอินทร์ อุบลชัย. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ธงชัย ทองมา. (2558). การบริหารจัดการความเสี่ยงกับการบริหารการเปลี่ยนแปลงองค์การในยุคโลกาภิวัฒน์. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(3), 596-599.

ธีรดา สืบวงษ์ชัย. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาจันทบุรีเขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง และสรายุทธ กันหลง. (2553). ภาวะผู้นำใฝ่บริการในองค์การ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

สุพิษ จุ้ยกลาง. (2550). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการทำงานของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่แนวคิดและทฤษฎี (พิมพ์ครังที่ 7). โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุภาเพ็ญ จริยะเศรษฐ์. (2542). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย. สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี.

ศุภฤกษ์ กลิ่นสุคนธ์. (2554). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสถาบัณฑิตพัฒนศิลป์ [ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญมี เวียงนนท์. (2556). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. ขอนแก่น.

ศิริรัตน์ สาลีทิพย์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียนกับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

Carolyn, B. S. (2006). The influence of gender, age, and locus of control on servant leader behavior among group leaders at The Culinary Institute of America. Ph.D. Dissertation, Department of Education Leadership University of Walden United States.

Dennis, R. S. and Bocarnea, M. (2005). Development of the servant leadership assessment. Leadership & Organizational Development Journal, 26(8), 600-615.

Dennis, R.S. (2004). Development of the Servant Leadership Assessment Instrument. Dissertation Abstracts International.

Greenleaf, R. K. (1977). Servant Leadership. Mahwah New Jersey.

Joseph. E. E., & Winston, B. E. (2005). A correlation of servant leadership leader trust and Organizational trust. Leadership & Organization Development Journal, 26(1), 6–22.

Livovich, (1999). An investigation of servant-leadership in public school superintendents in the state of Indiana. Dissertation, Ed.D.(Doctor of Education). Graduate School Indiana State University, Indiana.

Page and Wong. (2003). Servant Leadership. Development of a multidimensional Boston Elsevier Ince.

Poon, R. (2006). A model for servant leadership. self-efficacy and mentorship school of leadership studies.

Russell, R. F. (2001). The role of values in servant leadership. Leadership & Organization Development Journal, 22(2), 76–84.

Sendjaya, S., & James, C.S. (2002). Servant leadership Its origin development and application in Organizations. Journal of Leadership and Organization Studies.

Waddell, T. J. (2006). Servant leadership. American Sociological Review, 49 (2), 149-164.

Winston, B. E. (1999). Be a manager for God's sake Essays about the perfect manager. Journal of Natural History, 16(4), 529-559.