สภาพการบริหารงานวิชาการในยุค 4.0 ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2

Main Article Content

ปรเมศวร์ มงคลเสริม
เกริกไกร แก้วล้วน
ชวนคิด มะเสนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการยุค 4.0 ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 2) เปรียบเทียบสภาพการบริหารงานวิชาการยุค 4.0 ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา ประสบการณ์ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการยุค 4.0 ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็น ผู้บริหาร และครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 จำนวน 306 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และการทดสอบค่า F เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการของ LSD 


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการในยุค 4.0 ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานวิชาการในยุค 4.0 ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 จำแนกตาม ตำแหน่งและประสบการณ์การทำงาน พบว่า โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตาม ระดับการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในยุค 4.0 ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษายุค 4.0 เพิ่มเติมเนื้อหาให้ทันกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง เพิ่มรายวิชาสร้างนวัตกรรม ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ยุค 4.0 เรียนรู้แบบ Active Learning ผสมผสาน STEM และCoding ด้านการวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน ยุค 4.0 วัดผลตามสภาพจริง นำเทคโนโลยีมาใช้ในการเทียบโอนผลการเรียน ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษายุค 4.0 วิจัยเพื่อแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษายุค 4.0 พัฒนาสื่อนวัตกรรม ด้านการพัฒนาและส่งเสริมแหล่งการเรียนรู้ยุค 4.0 พัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ด้านการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและมาตรฐานการศึกษายุค 4.0 พัฒนาระบบการประกันคุณภาพ จัดเก็บฐานข้อมูล ด้านการส่งเสริมความรู้ทางวิชาการแก่ชุมชนยุค 4.0 สร้างเครือข่ายวิชาการ พัฒนาแอปพลิเคชัน กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กมลวรรณ ปานเมือง. (2563). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดชุมพร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11. วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น, 16(1), 51 – 71.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. https://www.academia.edu

จตุรภัทร ประทุม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

จันชรี เยาดำ. (2561). การบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของครูผู้สอนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

นพดล อารมณ์รัตน์. (2560). การบริหารงานวิชาการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พัชรินทร์ โคตรสมบัติ. (2558). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9(ฉบับพิเศษ), 437 - 448.

เพ็ญจันทร์ สินธุเขต. (2560). การศึกษายุคนี้ (ยุคดิจิทัล) : Thailand 4.0. ครุศาสตร์วิจัย 2560/NACE2017: นวัตกรรมแห่งการเรียนรู้, 3, 98 – 110.

รัตน์ดา เลิศวิชัย. (2560). การใช้งานวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้. ครุศาสตร์วิจัย 2560/NACE2017: นวัตกรรมแห่งการเรียนรู้, 3, 123-137.

วิลัยวรรณ ปู่ธิรัตน์. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. วารสารบัณฑิตศึกษา, 14(65), 119 – 130.

สาคร มหาหิงค์. (2561). แนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วารสารวิทยาลัยสันตพล, 4(2), 17-25.

สุพรรษา แสงจันทร์นวล. (2563). การบริหารงานวิชาการด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ในยุคการศึกษา 4.0 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สุเมธ งามกนก. (2564). การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัล. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 3(1), 59-67.

สุภัค โอฬาพิริยกุล. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการสำหรับโรงเรียนอนุบาล [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรัยยา วามุ. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานวิชาการของครู ตามทัศนะของครูในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2563-2565. แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2563-2565.

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2545). แนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ:สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อรนิตย์ สุวรรณไตรย์. (2558). สภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยพิชญทรรศน์, 10(1), 103-111.

Pantazis, Mary Ellen. (2013). Special Education Related Services and Distance Education in the 21st Century Classroom [Unpublished doctoral dissertation]. Graduate University.

McCathy, W.M. (1971). The Role of the Secondary School Principal in New Jersey. Dissertation Abstracts International. 32(2), 705 – A.