พัฒนาการของคณะโหวดเสียงทอง

Main Article Content

วัทธิกร แสวงผล
สุรพล สุเนสินธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของคณะ โหวดเสียงทอง การคงอยู่และการเปลี่ยนแปลงของคณะโหวดเสียงทอง ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร และการรวบรวมข้อมูล ภาคสนามด้วยการสำรวจ สังเกต สัมภาษณ์ผู้รู้ นักวิชาการ จำนวน 2 คน สมาชิกคณะโหวดเสียงทอง จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบสำรวจ แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และนำเสนอ ด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์


ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการของคณะโหวดเสียงทอง มีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ยุคแรก พ.ศ. 2511 - 2515 เครื่องดนตรี 4 ชิ้น คือ แคน ซุง กลองตุ้ม และฉิ่ง ผู้บรรเลงนั่งกับพื้นลักษณะครึ่งวงกลม ยุคที่ 2 พ.ศ. 2516 - 2520 เพิ่มเครื่องดนตรี พิณโปร่ง กลองหาง 2 ใบ ไหซอง 2 ใบและโหวด เพิ่มลายบรรเลง ได้แก่ เปิดวง ลายตังหวาย ลายนกไซบินข้ามทุ่ง ลายแมงตับเต่า ลายเซิ้งบั้งไฟ ลายน้ำโตนตาด ลายเต้ย ยุคที่ 3 พ.ศ. 2521 - 2525 ยุครุ่งเรือง เพิ่ม กลองชุด พิณไฟฟ้า พิณเบส ซออีสาน ปี่ภูไท มีพิธีกร นักร้องหญิงชาย เพิ่มลายภูไทกาฬสินธุ์ ภูไทสกลนคร ภูไทเรณูนคร มีท่าฟ้อนภูไท ปี พ.ศ. 2528 – ปัจจุบัน หัวหน้าคณะโหวดเสียงทองได้เข้ามาทำหน้าที่เป็นครูผู้สอนในวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด มีการพัฒนาเครื่องดนตรี พิณ 2 หัว พิณ 3 หัว ในระยะหลังทำให้เกิดปัญหา มีการพักการแสดง และการรวมตัวกันอีกในเวลาต่อมา แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมเหมือนเมื่อก่อน การคงอยู่และการเปลี่ยนแปลงของคณะโหวดเสียงทอง มีการผสมผสานเครื่องดนตรีพื้นบ้านกับเครื่องดนตรีสากล เผยแพร่ผลงานไปยังต่างประเทศ มีการบันทึกเทปคาสเซ็ท กลวิธีการบรรเลงยุคแรก ยึดเสียงแคนเป็นหลัก ยุคที่ 2 มีการบรรเลงเพลงเปิดวงประยุกต์จากเพลงลูกทุ่งมีการขับร้องเพลงลูกทุ่งและหมอลำ ยุคที่ 3 มีจำนวนผู้แสดงเพิ่มมากขึ้นการบรรเลงดนตรีมีแบบแผน ยุคที่ 4 การบรรเลงการแสดงหลากหลายมีความเป็นสากลและเป็นวิชาการ ลักษณะของการแสดงในปัจจุบันเป็นการอนุรักษ์ สืบทอด วัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านอีสาน

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กฤตวรรษกร โพธิ์ใต้ และคณะ. (2558). การพัฒนารูปแบบการบรรเลงดนตรีพื้นบ้าน: กรณีศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด [ปริญญานิพนธ์บัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ร้อยเอ็ด.

โกวิทย์ ขันธศิริ. (2550). ดุริยางคศิลป์ตะวันตก เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2530). คติชาวบ้าน. ภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศรีนรินทรวิโรฒมหาสารคาม.

เจริญชัย ชนไพโรจน์. (2526). ดนตรีพื้นบ้านอีสาน. มหาสารคาม: คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2549). การบริหารการพัฒนา: ความหมายเนื้อหา แนวทางและปัญหา. กรุงเทพฯ : สำนักแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์. (2563) ศิลปินแห่งชาติสาขาดนตรีพื้นบ้าน หัวหน้าคณะโหวดเสียงทอง. สัมภาษณ์, 12,21 พฤษภาคม, 12 มิถุนายน. 2563.

ปาหนัน คำฝอย. (2553). การพัฒนาระบบบันทึกโน๊ตเพลงไทย. กรุงเทพฯ: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

พัทยา สายหู. (2531). แนวทางในการส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรมพื้นบ้าน. ใน แนวทางการส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรมพื้นบ้านไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

วิวัฒน์ชัย บุญภักดิ์. (2531). วัฒนธรรมพื้นบ้าน : ทรัพยากรการท่องเที่ยวอีกรูปแบบหนึ่ง ใน นิเวศน์สัญจร วิถีทางสู่การอนุรักษ์. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2544). การศึกษาสังคมและวัฒนธรรม: แนวคิด วิธีวิทยา ทฤษฎี. ขอนแก่น:อมรินทร์ก๊อปปี้.

สุจิตต์ วงศ์เทศ. (2557). ร้อยเอ็ดมาจากไหน?. กรุงเทพฯ: แม่คำผาง.