การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้ วิธีสอนแบบบูรณาการของเมอร์ดอกช์ (MIA) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

กชภร ภัทรประเสริฐ
ทัศนีย์ นาคุณทรง
ทิพาพร สุจารี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้วิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ดอกช์ (MIA) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ดอกช์ (MIA) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมะค่าพิทยาคม จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้น 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที


ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้วิธีสอนแบบบูรณาการของเมอร์ดอกช์ (MIA) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) 82.20/80.63 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 75/75 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้วิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ดอกช์ (MIA) โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). กรมวิชาการหลักสูตรศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

จุติมา ศรีบัว. (2560). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจจากหนังสือพิมพ์และนิตยสารภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคมโรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ไฉน อรุณเหล้า. (2560). เทคนิคการตั้งคำตามเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและการเขียนสรุปความ วิชาภาษาอังกฤษ 7 (042102) ของนักเรียนรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเวียงเซียงรุ้งวิทยาคม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลับราชภัฏเชียงราย.

ณัฏฐณิกานต์ ทองโคตร. (2559). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกทักษะตามแนวการจัดการเรียนรู้แบบ MIA [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นราธิป เอกสินธุ์. (2559). การพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษโดยใช้สาระการเรียนรู้ท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามแนวการสอนอ่านของเมอร์ด็อกซ์ (MIA) [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏจอมบึง.

เนาวรัตน์ นุ่มอุรา. (2554). การเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษและมนุษยสัมพันธ์ของนักเรียน ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนตามรูปแบบเอริกา (ERICA MODEL) และการสอนตามคู่มือครู [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เพียงฤทัย เทพอักษร. (2557). การศึกษาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยวิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ดอค (MIA) [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

รอสนี บูชามัน. (2552). การศึกษาความสามารถในการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ บูรณาการของเมอร์ดอกช์ (MIA) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

วิภารัตน์ คำใสย์ทอง. (2560). การพัฒนาความสามารถค้นการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ โดยใช้ชุดฝึกประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการของเมอร์ดอกช์ (MIA) [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

โรงเรียนมะค่าพิทยาคม. (2562). รายงานการจัดการศึกษา 2562. มหาสารคาม: โรงเรียนมะค่าพิทยาคม.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2559). เอกสารประกอบการสอนนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้. มหาสารคาม : ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2561). ระบบประกาศและรายงาน ผลสอบโอเน็ต. มหาสารคาม : สำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ.

อำภา วิฬุวัน. (2560). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยวิธีการสอนแบบบูรณาการของเมอร์ดอกซ์ (MIA) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Delaney, Norma McLuckie. (1985). “The effect of strategy training on comprehension of implicit and explicit information in familiar and unfamiliar expository test,” Dissertation Abstract International, 46(01), 111-A.

Maryam Heidarifard. (2014). The Effect of Graphic Organizers on L2 Learners’ Reading Comprehension. Trabiz: Tabriz University.

Murdoch, George S. (1986). A more Integrated Approach to the Teaching of Reading. English Teaching Forum, 34, 9-15.

Rogers, J. D. (1983). Group activities for language learning. Occasional paper No 4. Singapore: SEAMEO Regional Language Center.

Wang, Charles Xiaoxue. (2004). The Instructional Effects of Prior Knowledge and Three Concept Objectives Dissertation Abstracts International, 64(10), 3656A.