การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค Co-op Co-op ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษก่อนเรียนกับหลังเรียนรู้ด้วยกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค Co-op Co-op และ 2) ศึกษาความพึงพอใจนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเหล่าไฮงามวิทยาสูง จำนวน 21 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค Co-op Co-op 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติทดสอบทีแบบอิสระ
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยกิจกรรมการเรียนรูแบบกลุมรวมมือแบบ Co–op Co–op มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค Co-op Co-op ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กฤษติญา มูลศรี. (2553). การศึกษาผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิค CO-OP CO-OP ในรายวิชาการจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. เพชรบูรณ์ : สถาบันวิจัยและพัฒนา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
จิตนิภา ศรมันตะ. (2551). การพัฒนาชุดการสอนภาษาอังกฤษเน้นทักษะฟัง-พูด โดยใช้สื่อโฆษณา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จิรภา มะละกา. (2559). การเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการตั้งคำถามกับเทคนิคแบบ CO OP CO OP [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธนธรณ์ นิยมชื่น. (2560). ผลการอ่านจับใจความกลุ่มสาระการเรียนรูภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้บทเรียนการ์ตูนประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ Co-op Co-op [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พัชรินทร์ โฆสิต. (2560). ผลการเรียนรูแบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค Co-op Co-op กลุ่มสาระการเรียนรูภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด โดยหนังสือคำกลอนสอนอ่านจากประถม ก กา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พัชรา พลเยี่ยม. (2553). การพัฒนาชุดประกอบการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคเรียนด้วยช่วยกันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านโคกบัวค้อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ไพรวรรณ มัชปาโต (2560). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรูภาษาไทย เรื่อง เครื่องหมายวรรคตอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ Co-op Co-op [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
โรงเรียนเหล่าไฮงามวิทยาสูง. (2563). รายงานประจำปีการศึกษา 2563. กาฬสินธุ์ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2551). นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้. ภาควิชาหลักสูตรและการสอนคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2554). การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง. เชียงใหม่: เชียงใหม่โรงพิมพ์: แสงศิลป์.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2552). 19 วิธีจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนากระบวนการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
อุทัย ภิรมย์รื่น (2554). ปัญหาการสอนอ่านภาษาอังกฤษแก่ผู้เริ่มเรียน. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
AbuSeileek, A. F. (2007). Cooperative vs. individual learning of oral skills in a CALL environment. Computer Assisted Language Learning, 20(5).
Balkcom, S. (Online 19/11/2561) (1992). Cooperative learning. Education Research Consumer Guide.1, from http://www.ed.gov/pubs/OR/Consumer Guides/ Cooplear. html.
Lawrey. (1978). Reading Interest In First Grade, Elementary English, 1; 707 – 711.
Meek, Elija Bruce. (2001). “Learning Package Versus Conventional Method of Instruction,” Dissertation Abstracts International. 33(2): 1590 – A February.
Sadler, Kim Cleary. (2003). The Effectiveness of Cooperative Learning as an Instructional Strategy to Increase Biological Literacy and Academic Achievement in a Large, Nonmajors College Biology Class, Dissertation Abstracts International, 63(8), 2784-A.
Slavin, Robert E. (1995). Cooperative Learning Theory, Research and Practice. (2nd ed). Massachsetts: A Simom & Schuster.