การประเมินการฝึกประสบการณ์วิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ โดยรูปแบบการประเมินซิปป์: กรณีศึกษาคณะการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Main Article Content

ลัดดาวัลย์ ชูทอง
นรินทร์ทร พันธ์สวัสดิ์
ยามีละ ดอแม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการฝึกประสบการณ์วิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ โดยรูปแบบการประเมินซิปป์: กรณีศึกษาคณะการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กลุ่มเป้าหมายในการประเมินคือ นักศึกษาหลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 42 คน และอาจารย์พี่เลี้ยง ณ โรงพยาบาลภาครัฐ จำนวน 11 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 การวิจัยเป็นเชิงประเมินผล  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและเก็บรวมรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 


              ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของนักศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านปัจจัยเบื้องต้น มีค่าเฉลี่ยสูงสุด เมื่อจำแนกตามข้อมูล อาจารย์พี่เลี้ยงมีเวลาให้คำปรึกษาด้านการปฏิบัติงาน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือด้านกระบวนการ การปฐมนิเทศ ให้คำแนะนำ ระเบียบวินัย และการส่งงาน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ด้านบริบท การฝึกประสบการณ์วิชาชีพสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานในสถานประกอบการได้จริง มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และด้านผลผลิต การวัดและประเมินผลมีความยุติธรรม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก  ความคิดเห็นของอาจารย์พี่เลี้ยง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านกระบวนการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด เมื่อจำแนกตามข้อมูล กิจกรรมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพได้ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือด้านปัจจัยเบื้องต้น การตรงต่อเวลาในการทำงาน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านบริบท การฝึกประสบการณ์วิชาชีพสอดคล้องกับความต้องการของแหล่งฝึก มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และด้านผลผลิต ความสามารถในการวางแผนการรักษา และการให้คำแนะนำได้ถูกต้อง มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก


       

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564, 22 มีนาคม). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ พ.ศ. 2554.

http://www.mua.go.th/users/tqf- hed/news/FilesNews/FilesNews6/appliedThaiMedBachelor_m1.pdf.

จุฬาลักษณ์ เทียนรุ่งรัศมี. (2562). การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาและผลการปฏิบัติงานของบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารศึกษาศาสตร์, 30(3), 215-227.

ชัยวัฒน์ พันธ์รัศมี. (2564). การประเมินคุณภาพหลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2555) วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก ด้วยวิธีการประเมิน CIPPIEST ทฤษฎีของ Daniel Stufflebeam. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 4(1), 66-76.

นิวัฒน์ สวัสดิ์แก้ว. (2556). การประเมินการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่. การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4 เรื่องการวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมไทย (น. 436-446). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (2559). หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559.

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (2562). คู่มือนักศึกษา ระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2562 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สำนักสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (2557). คู่มือสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาลัยการแพทย์ แผนไทยฯธัญบุรี ปี 2557-2558.

โสภา แซ่ลี. (2558). การประเมินโครงการคืนครูให้นักเรียนโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

สุภัทรา กลางประพันธ์, มุสิกร ธุศรีวรรณ และวิรุธน์ บัวงาม. (2557). การประเมินผลการจัดการฝึกประสบการณ์วิชาชีพแพทย์แผนไทย คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 4(2), 72-78.

อำพล บุญเพียร. (2556). การประเมินหลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2553) ของวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก. วารสารครุพิบูล, 6(2), 207-218.

Stufflebeam, D. L. (1971). Educational evaluation and decision-Making, Illinois: Peacock.

Likert, Rensis A. (1961). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill Book Company Inc.