การส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความฉลาดทางสังคม ด้วยกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กระดับปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย1) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้วยกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กระดับปฐมวัย 2) เพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคมด้วยกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กระดับปฐมวัย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลบ้านพระเนตร (แก้วสุวรรณประสิทธิ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 20คน เป็นกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 6 ชุด แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กระดับปฐมวัยทั้ง 4 ทักษะและแบบประเมินความฉลาดทางสังคมสำหรับเด็กปฐมวัยทั้ง 3 ด้านดำเนินตามการวิจัยกึ่งทดลองโดยใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบหลังการทดลองสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีของกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว
ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กระดับปฐมวัยหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กระดับปฐมวัยมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ร้อยละ 93.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ความฉลาดทางสังคมของเด็กระดับปฐมวัยหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีค่าสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ร้อยละ 92.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 (พิมพ์ครั้งที่ 1).
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
กิ่งฟ้า สินธุวงศ์. (2560). สารัตถะและวิทยวิธีทางวิชาวิทยาศาสตร์.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชำนาญ กงสะเด็น. (2560). เชาว์อารมณ์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรมโยคะอาสนะประกอบเสียงดนตรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทิศนา แขมมณี.(2561). การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 5). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2561). การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับปฐมวัยศึกษา.วารสารการศึกษาปฐมวัย, 7(3), 23-29.
พิมพ์พันธิ์ เดชะคุปต์. (2559).การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.เดอะมาสเตอร์กรุ๊ฟแมเนจเม้นท์.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2560). การศึกษาไทย 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วราภรณ์ รักวิจัย. (2562). การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). ต้นอ้อ.
ศิริทัย ธโนปจัย. (2559). การพัฒนากิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). ตัวอย่างการประเมินผลวิทยาศาสตร์นานาชาติ: PISA และ TIMSS.กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2552). คุณภาพของครูสู่คุณภาพการเรียนรู้.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Landry, F., & Glasson, G.E. (2008). Early science education. J of Res Sci Teach, 39(6), 443-463.
Vygotsky, L. (1978). Mind in Society: The developmental of Higher Psychological process. Cambridge, MA: Harvard University Press.