การพัฒนาทักษะการเรียนรู้แบบ 4 MAT เรื่องการแต่งบทร้อยกรอง ประเภทกลอนสี่ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ผุสดี ศรีเมือง
สมิทธ์ชาต์ พุมมา
อมลวรรณ วีระธรรมโม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนเรื่องการแต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนสี่ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT  2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนสี่ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT  2) แบบทดสอบวัดทักษะแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน         


ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนเรื่องการแต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนสี่ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT ซึ่งมีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.09/75.23  2) ความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนสี่ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT ภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กิริยา ปี่ทอง. (2552). การเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านและความรับผิดชอบในการเรียนภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนรู้แบบร่วมมือตามวิธี STAD กับที่เรียนรู้แบบ 4 MAT [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ขันทอง สีพิกา. (2550). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่อง รักเมืองไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมแบบปกติที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญากับ การจัดกิจกรรมแบบ 4 MAT [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จูริก ทักษิณ. (2553). การพัฒนาทักษะการเขียนกลอนสุภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือคละผลสัมฤทธิ์ (STAD) [วิทยานิพนธ์ปริญญาหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ดุษฎี มัชฌิมาภิโร. (2553). การพัฒนารูปแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. ยะลา: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

นิตยา คงทอง. (2555). ความสามารถในการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT [ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

นิพนธ์ โพธิ์ไทร. (2552). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนกลอนสี่ โดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. (2563, 8 กุมภาพันธ์). รินรัก-รินศรัทธา. มติชนสุดสัปดาห์. https://www.matichonweekly.com/column/article_271473

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.

ปฤษณา แจ้มแจ้ง. (2554). การพัฒนาทักษะการแต่งคำประพันธ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ชุดการสอนการแต่งคำประพันธ์ตามแนววัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT) [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ปิยนันท์ สวัสดิ์ศฤงฆาร. (2562, 3 กันยายน). วงจรการเรียนรู้แบบ 4 MAT [Bernice McCarthy]. สารานุกรมการบริหารและการจัดการ. https://drpiyanan.com/2019/09/03/4mat-learning-cycle-model-bernice-mccarthy/

พรทิพย์ วันดี. (2549). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนววัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT) เรื่องยาเสพติดสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มัสทนา ตุ่มอ่อน. (2554). วัฎจักรแห่งการเรียนรู้ 4 MAT. https://sites.google.com/site/ muttanatumoon/wad-cakr-haeng-kar-reiyn-ru-4-mat

รพีพรรณ เพียรเสมอ. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์เรื่อง แรง มวลและกฎการเคลื่อนที่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT) และตามคู่มือครู [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รุ่งกานต์ จันทา. (2553). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการเขียนบทร้อยกรอง (กลอนแปด) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

โรงเรียนบ้านเปร็ต. (2553). รายงานผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา (Self-Assessment Report: SAR) ประจำปีการศึกษา 2562. นครศรีธรรมราช : โรงเรียนบ้านเปร็ต.

วิทยา พาภิรมย์. (2555). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนกลอนสุภาพกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2558). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนทรโวหาร (ภู่), พระ, (2553). พระอภัยมณีคำกลอน เล่ม 1. กรุงเทพฯ : วิสดอม.

สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

Dante L. Silva, Lilibeth D. Sabino, Edgar M. Adina, Dionisia M. Lanuza, & Odilon C. Baluyot. (2011, 19-21, October). Transforming Diverse Learners through a Brain-based 4MAT Cycle of Learning. Proceedings of the World Congress on Engineering and Computer Science 2011 Vol I WCECS 2011. San Francisco, USA.