เล่ห์ลุนตยา : กลวิธีการประพันธ์และบทบาทการสร้างอัตลักษณ์ ทางชาติพันธุ์ในวัฒนธรรมพม่า
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของวรรณกรรมเรื่องเล่ห์ลุนตยา
ของพงศกร ในด้านเนื้อหา คือ เนื้อเรื่อง ตัวละคร บทสนทนา และในด้านศิลปะการแต่ง คือ กลวิธีการ
ตั้งชื่อเรื่อง และกลวิธีการเล่าเรื่อง ตลอดจนศึกษาถึงลักษณะเด่นของอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่ปรากฏ
ในนวนิยายของพงศกร ผลการวิจัยพบว่า นวนิยายเรื่องเล่ห์ลุนตยา ของพงศกร มีองค์ประกอบ
ของวรรณกรรมอย่างครบถ้วน กลวิธีการตั้งชื่อเรื่องมีความสอดคล้องกับปมปัญหาของเรื่อง และกลวิธีการดำเนินเรื่องน่าสนใจชวนให้ผู้อ่านติดตาม เมื่อวิเคราะห์ลักษณะเด่นของอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่ปรากฏในนวนิยาย ของพงศกร พบว่ามีลักษณะเด่น คือ การถ่ายทอดให้เห็นประวัติศาสตร์ เบื้องหลังสภาพ
วิถีชีวิตของชาวพม่า โดยใช้สัญลักษณ์การแบ่งชนชั้น อำนาจจากการสวมใส่ผ้าลุนตยา ที่มีลวดลายเฉพาะของลุนตยา ตลอดจนการอนุรักษ์วัฒนธรรมการทอผ้าอันเป็นมรดกตกทอดด้านศิลปะชั้นสูง
ที่สวยงามและละเอียดอ่อน ไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา ตลอดจนการหลอมรวมของวัฒนธรรม
อัตลักษณ์และการรวมกลุ่มชาติพันธุ์ของพม่า จากการทำสงครามระหว่างไทยกับพม่าในสมัยอยุธยา
ซึ่งพม่าได้รับชัยชนะจนเกิดการอพยพย้ายถิ่นฐานของชาวโยเดียในที่สุด เนื้อเรื่องมีการสอดแทรกเรื่องราวของความรัก ความแค้นและปมปัญหาต่าง ๆ ของตัวละคร โดยมีการวางโครงเรื่องอย่างน่าสนใจ
ชวนติดตาม ซึ่งแสดงเห็นลักษณะเด่นของบทประพันธ์และสามารถถ่ายทอดเรื่องราวให้ผู้อ่านเห็นภาพ
ได้อย่างชัดเจน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2545). แนวคิดในการศึกษาอัตลักษณ์ความเป็นไท. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี.
ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ. (2547). ว่าด้วยแนวทางการศึกษาชาติพันธุ์. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
ดำรงค์ ฐานดี. (2543). มานุษยวิทยาเบื้องต้น. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ตรีศิลป์ บุญขจร. (2560). นวนิยายกับสังคมไทย (2475 - 2500). (พิมพ์ครั้งที่ 4). คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พงศกร จินดาวัฒนะ. (2562). เล่ห์ลุนตยา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรู๊ฟ พับลิชชิ่ง จำกัด.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2540). ทฤษฎีสังคมวิทยา เนื้อหาและแนวทางการใช้ประโยชน์เบื้องต้น. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สายทิพย์ นุกูลกิจ. (2543). วรรณคดีวิจารณ์. ชัยศิริการพิมพ์.