สภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษายุคดิจิทัล 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษายุคดิจิทัล 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการพัฒนาสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษายุคดิจิทัล กลุ่มตัวอย่าง คือ จำนวน 435 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 97 คน และครูผู้สอน จำนวน 338 คน ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี และกลุ่มเป้าหมายที่ใช้สัมภาษณ์เชิงลึก ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาหรือครูผู้รับผิดชอบงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 3 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง โดยเครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามเพื่อการวิจัย ประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 แบ่งเป็น 3 ตอน คือ 1) สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม 2) แบบสอบถาม จำนวน 48 ข้อ 3) ข้อเสนอแนะการพัฒนา จำนวน 6 ข้อ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษายุคดิจิทัล โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง 2. การเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษายุคดิจิทัล ดังนี้ 2.1) จำแนกตามตำแหน่ง พบว่า โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน 2.2) จำแนกตามประสบการณ์ พบว่า โดยภาพรวม แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 2.3) จำแนกตามขนาดสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวม แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 3. ข้อเสนอแนะการพัฒนาสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษายุคดิจิทัลอำนาจเจริญ โดยสรุปจากการตอบแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก เป็นรายด้าน ดังนี้ 1) ด้านการรู้จักนักเรียนรายบุคคล ควรจัดอบรมด้านการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้คัดกรองนักเรียน 2) ด้านการคัดกรองนักเรียน ควรจัดอบรมด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการคัดกรองนักเรียน 3) ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ควรนำข้อมูลที่ได้จากการคัดกรองนำมาส่งเสริมเสริมและพัฒนานักเรียน 4) ด้านการป้องกัน ควรนำข้อมูลที่ได้จากการคัดกรองนักเรียน มาวางแผนเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น 5) ด้านการแก้ปัญหา ควรผสานความร่วมมือกับผู้ปกครองเพี่อร่วมกันแก้ปัญหาด้วยรูปแบบที่สอดคล้องกับยุคดิจิทัล 6) ด้านการส่งต่อ ควรมีช่องทางการติดต่อกับองค์กรภายนอก เพื่อประสานงานและส่งต่อรูปแบบออนไลน์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กรดา มลิลา. (2564). สังคมออนไลน์เพื่อการศึกษา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช, 8(2), 29-42.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่9). สุวีริยาสาส์น.
พรศักดิ์ ผกากรอง. (2562). การศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
[การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/757
นิพนธ์ วิลุน. (2563, 23 มีนาคม). ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6, การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 7 ประจำปี 2563 [Symposium]. วิทยาลัยนครราชสีมา.
เบญจวรรณ นุ่นทอง. (2561). ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร,
(17), 188-191.
วุฒิพงษ์ พันทิวา. (2563). สภาพ ปัญหา และแนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือ
นักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 8(31), 199-210.
ศักรินทร์ โพธิ์เพ็ชร. (2559). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41
[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ http://ns.nsru.ac.th/bitstream/nsru/116/1/
Sakkarin_Phophet.pdf
ศิวา ขุนชำนาญ. (2564, 23 มิถุนายน). การบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1, การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12 [Symposium]. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สุธารัตน์ มณีรัตน์. (2562). การดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนในกลุ่มเครือข่าย
ภัทรบูรพา อําเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา http://digital_collect.lib.buu.ac.th
/dcms/files/57990345.pdf
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2546). คู่มือการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือ
นักเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้วิกฤตสังคม. ชวนพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2547). แนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.(2547). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนใน สถานศึกษา. โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2563). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. คู่มือแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2563 (2563, 5 มิถุนายน). https://drive.google.com/file/d/1Kqe6WiB8WNDzt06T8Di
qSzlqa0rLKQvU/view
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ. (2564, 7 มิถุนายน). สารสนเทศทางการศึกษา สพม.อบอจ. https://drive.google.com /file/d/1RPI9vjrTY4D4IP2BqVvKv7muwCxP-3bI/view
สุภาวดี ลาภเจริญ และกิตติศักดิ์ อังคะนาวิน. (2562). รูปแบบการบริหารงานด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้ปกครองในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐ โรงเรียนพนัสพิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วารสาร “ศึกษาศาสตร์ มมร” คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 7(1), 15-32.
สุภัสสร สุริยะ. (2562). การศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาส
สังกัดกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. ฐานข้อมูลวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม.
อุไรรัตน์ พลขันธ์. (2558). สภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัด
เทศบาลเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 9(2), 188-191.
เอกชัย กี่สุขพันธ์. การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management in Digital Era). (2559, 01 พฤศจิกายน). https://www.trueplookpanya.com/knowledge//content/52232/-edu-teaartedu-teaart-teaartdir--
เอกชัย ภูผา. (2561, 20 มีนาคม). การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนสตรีระนอง
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14. เอกสารการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8 [Symposium]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
Terrence J. Lee-St. John et al. (2019). “The Long-Term Impact of Systemic Student
Support in Elementary School: Reducing High School Dropout,” AERA Open, 13(4), 1-16.