การศึกษาสภาพขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 2) เปรียบเทียบขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 จำแนกตาม เพศ ตำแหน่ง และขนาดโรงเรียน 3) ศึกษาแนวทางในการส่งเสริมขวัญและกำลังใจของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธรเขต 1 จำนวน 285 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นโดยใช้ขนาดโรงเรียนและกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการเทียบสัดส่วนของเครซีและมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธรเขต 1 ทั้ง 6 ด้าน โดยรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธรเขต 1 จำแนกตาม เพศ ตำแหน่ง และขนาดของโรงเรียน จากผลการวิจัยพบว่าขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธรเขต 1 จำแนกตามเพศ ตำแหน่ง และขนาดโรงเรียน พบว่า ข้าราชการครูที่มีเพศ ตำแหน่ง และปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดโรงเรียน ต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธรเขต 1 โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) แนวทางในการส่งเสริมขวัญและกำลังใจของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 คือ สถานศึกษาควรให้ความสำคัญกับความก้าวหน้าอาชีพครู สนับสนุนให้ครูได้รับโอกาสในการเลื่อนตำแหน่ง ความสัมพันธ์ของครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอนและปฏิบัติหน้าที่พิเศษฝ่ายต่าง ๆ ในสถานศึกษากับผู้บริหารสถานศึกษา ให้ข้าราชการครูและผู้บริหารสถานศึกษามีบทบาทร่วมกันในการวางแผน ตัดสินใจ รวมถึงการแก้ปัญหา โดยผู้บริหารสถานศึกษาต้องเป็นผู้ให้คำปรึกษา แนะนำ ด้วยกัลยาณมิตรต่อข้าราชการครู สถานศึกษาต้องมีการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนครู ส่งเสริมและสนับสนุนเมื่อปฏิบัติหน้าที่ในด้านต่าง ๆ ควรได้รับจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอ เพื่อให้เอื้อต่อการปฏิบัติงาน รวมถึงอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับสวัสดิการ และควรมีนโยบายที่เสริมสร้างความมั่นคงและปลอดภัยในการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
จินตนา เทวา. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างขวัญและกำลังใจกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 [วิทยานิพนธ์ครุ ศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
ดุจดาว จิตใส. (2554). การใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารกับการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดเทศบาล กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 5 [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธีระวุฒิ เอกะกุล.(2552). การวิจัยปฏิบัติการ (พิมพ์ครั้งที่ 9). อุบลราชธานี: ยงสวัสดิ์อินเตอร์ กรุ๊ป.
ธวัชชัย ฟักเทพ. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมเสมียนตรา สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย [รายงานปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
เบญจมาศ แดงเพ็ง. (2554). ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาของอำเภอมายอสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 2 [รายงานการค้นคว้าอิสระ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ปณต สิงห์สุขโรจน์. (2555). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน อบต. ท่าช้าง จังหวัดจันทบุรี [รายงานปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ผดุง วุฒิเอ้ย. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจของข้าราชการทหาร สังกัดสำนักงาน พัฒนาภาค 3 จังหวัดเชียงใหม่. [รายงานการค้นคว้าแบบอิสระ ปริญญาประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มนต์ชัย สุวรรณหงส์. (2554). สภาพการปฏิบัติงานประกันคุณภาพภายในของครูโรงเรียน บริหารธุรกิจ อยุธยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัด พระนครศรีอยุธยา เขต 1. สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. งานวิจัยการจัดการศึกษาตามหลักสูตรอาชีวศึกษาโรงเรียนบริหารธุรกิจอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา: โรงเรียนบริหารธุรกิจอยุธยา.
วรรณภา กลับคง. (2552). ขวัญและกำลังใจของครูในการปฏิบัติงานในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ.(2550,2 มิถุนายน). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ.
ธีระ ฟิล์ม และไซเท็กซ์. ศูนย์เฝ้าระวังเชิงองค์ความรู้สถานการณ์ภาคใต้ความไม่สงบ ในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย. https://www.deepsouthwatch.org,2550
สมบัติ ปัญญาจิรพงศ์. (2556). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของกำลังพลชั้นประทวน พลทหารและอาสาสมัครในพื้นที่ปฏิบัติงานของกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรี และตราด [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สมพงษ์ เกษมสิน. (2517). การบริหาร. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธร เขต 1. (2563). รายงานประจำปี 2563. ยโสธร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธร เขต 1.
สุธาทิพย์ บุญเสม. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ : ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี [รายงานการศึกษาอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Anderson, Laster W., and Lauren A. Van Kyke. (1963). School Administration. Boston: Houghton Mifflin Company.
Benley, Ralph R., and Avero M. (1970). Rampel. Manual for the Purdue Teacher Opinionaire. West Lafayette: Indiana University Book Store.
Davis, Keith, and John W. (1985). Newstrom. The Dynamics of Human Relation at Work: Organizational Behavior (7th ed). New York: Mcgraw–Hill.
Herrel,Thommas Willard. (1964). Industrial Psychology. Culcutta: Oxford and IBM.
Sison, Perfecto S. (1996). Personnel Management: Principle and Practice. Gues City: Simon’s Printing Press.
Wiles, Kimball. (1953). Supervision for Better Schools. New York: Prentice-Hall Inc.
Ovard, Glen F. (1966). Administration of Changing Secondary School. New York: The McMillan Company.