ทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

Main Article Content

ชูชิต ชายทวีป
พิศณี พรหมเทพ
ธนิษฐา สมัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาทักษะของความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ประชากรได้แก่ นักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนจำนวน 420 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งหนึ่งในกลุ่มเทพมหานครจำนวน 201 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามมาตรวัด 5 ระดับ ซึ่งมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00และมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.31 - 0.63 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียรสัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบหลายขั้นตอน


              ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับทักษะของความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยตามลำดับดังนี้ ด้านการเคารพตนเอง/คนอื่น  ด้านการให้ความรู้ตนเอง/เชื่อมต่อคนอื่น และ ด้านการป้องกันตนเอง/คนอื่น 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 2 ปัจจัย ได้แก่ ทัศนคติต่ออินเทอร์เน็ต และ ประสิทธิภาพการใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีอำนาจในการพยากรณ์ทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลได้ร้อยละ 64.00 และ 3) ข้อเสนอแนะการพัฒนาทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัล ได้แก่ ควรเพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ตให้เร็วขึ้น จำนวน 69 คน ควรผลิตสื่อ ใช้สื่อและการเผยแพร่สื่ออย่างรอบคอบไม่ให้กระทำผิดกฎหมาย จำนวน 47 คน และควรจัดโครงการอบรมผลิตสื่อ การใช้สื่อบนสังคมออนไลน์ การเผยแพร่สื่อที่รับผิดชอบต่อสังคม จำนวน 35 คน


 

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กรกนก แขดวง, ศรัณย์ พิมพ์ทอง, และ พิชญาณี พูนผล. (2562). ปัจจัยทางจิตสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดีบนโลกดิจิทัลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลอยของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 11 (1), 124-143.

คันธิรา ฉายาวงศ์. (2564). แนวโน้มการเมืองไทยกับสื่อสังคมออนไลน์ในศตวรรษที่ 21. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 6(1), 97-107.

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2). (2560, 24 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 27 ก. หน้า 1-9.

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์. (2550, 18 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 10 ก. หน้า 24-35.

วราพร ดำจับ. (2562). สื่อสังคมออนไลน์กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 7(2). 143-159.สำนักงานสถิติแห่งชาติ, กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2564). สำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

Best, J. W. (1977). Research in Education. (3 rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc.

Hussainy, S.S., & Jamalullah S.R. (2021). A Study of Factors Affecting Digital Citizenship among College Faculties in India. International Journal of Teaching, Education and Learning, 4 (3), 49-61.

Isman, A., and Gungoren, O.C. (2014). Digital Citizenship. The Turkish Online Journal of Educational Technology, 13 (1), 73-77.

Krejcie, R. V., and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607 – 610.

Ribble, M.S. (2021). Digital Citizenship in the Frame of Global Change. International Journal of Studies in Education and Science, 2(2), 74-86.

Sadiku, M.N.O., Tembely, M., & Musa, M.S. (2018). Digital Citizenship. International Journals of Advanced Research in Computer Science and Software Engineering, 8 (5), 18-20.

Wu, Y. & Tsai, C. (2006). University Students’ Internet Attitudes and Internet Self-Efficacy: A Study at Three Universities in Taiwan. CyberPsychology & Behavior, 9 (4), 441-450.