การสร้างคุณค่าร่วมกันและการสร้างความสัมพันธ์ระยะยาว ของลูกค้าและผู้ประกอบการในธุรกิจโรงแรมขนาดกลางและขนาดเล็ก

Main Article Content

ณัฐจิรา อิ่มวิเศษ
สมบัติ ธํารงสินถาวร
ธินิกานต์ สังข์สุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรคและความร่วมมือในการสร้างคุณค่าร่วมกันและการสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวของลูกค้าและผู้ประกอบการในธุรกิจโรงแรม
ขนาดกลางและขนาดเล็ก เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ที่ได้รับการพิจารณาว่า
มีบทบาทหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการบริหารงาน จำนวน 20 คน ดังนี้ 1) ผู้บริหารระดับสูงของธุรกิจโรงแรม ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับกระบวนการสร้างแผนการตลาด จำนวน5 คน 2) บุคลากรของธุรกิจโรงแรมที่รับผิดชอบเกี่ยวกับกระบวนการสร้างแผนการตลาด จำนวน 5 คน และ 3) ผู้ใช้บริการ ได้แก่ ลูกค้าผู้ใช้บริการโรงแรม จำนวน 10 คน โดยมีเงื่อนไข คือ ต้องมีประสบการณ์การเข้าพักที่โรงแรมมาก่อน ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก พร้อมทั้งบันทึกเทปการสัมภาษณ์ ร่วมกับการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมและการจดบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหาและอุปสรรคในการสร้างคุณค่าร่วมกัน เกิดจากการแพร่ระบาดของโรควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการโรงแรม โดยเฉพาะปัญหาการติดต่อสื่อสาร ระหว่างบุคคล และ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการสร้างคุณค่าร่วมกันในธุรกิจโรงแรม ประกอบด้วย 1) ข้อมูลจากลูกค้า 2) ข้อมูลออนไลน์ของบริษัท 3) ชุมชนออนไลน์ 4) การดูแลลูกค้าเป็นพิเศษ 5) รางวัลที่เป็นรูปธรรม 6) การสื่อสารระหว่างบุคคล 7) ข้อมูลออฟไลน์ของบริษัท8) การสนับสนุนทางสังคม 9) ความผูกพัน และ 10) ความไว้วางใจ ซึ่งช่วยสร้างสนับสนุนทางสังคม และการสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวของลูกค้าและผู้ประกอบการในธุรกิจโรงแรม

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กฤตภัค แป้นถนอม และถวัลย์ เนียมทรัพย์. (2557). อิทธิพลของคุณลักษณะงาน การสนับสนุนทางสังคมและการถ่ายทอดทางสังคมขององค์การที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 40(1), 194-207.

ชุติมา เกศดายุรัตน์. (2562). การสร้างคุณค่าร่วมกันและกลยุทธ์การบริหารความสัมพันธ์บนสื่อสังคมออนไลน์. BU Academic Review, 18(1), 132-147.

นาวิก นำเสียง. (2560). การตลาดผสมผสานออนไลน์และออฟไลน์. เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/642271

ปภาณิน ทับเทพ. (2555). อิทธิพลของการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อมูลค่าความสัมพันธ์ของบริษัทกับลูกค้า กรณีศึกษาธุรกิจร้านกาแฟ [ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วีณา สุวรรณนาบูรณ์. (2557). คุณลักษณะส่วนบุคคล การสนับสนุนทางสังคม คุณภาพการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์และสื่อกลางด้านสารสนเทศของบุคคลที่สามที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านเฟซบุ๊ก (F–commerce) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร [ปริญญาบริหารธุรกิจ

มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุธา พงศ์ถาวรภิญโญ. (2561). การสร้างสรรค์คุณค่าร่วมระหว่างลูกค้ากับธุรกิจสู่ความผูกพันของลูกค้า. วารสารบัณฑิตศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 153-167.

สุภางค์ จันทวานิช. (2553). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). สถิติการท่องเที่ยวและกีฬา. เข้าถึงได้จาก http://statbbi.nso.go.th

/staticreport/page/sector/th/17.aspxbusiness/sme/knowledge/img/restaurant_covid/restaurant_covid.pdf

Aarikka-Stenroos, L., & Jaakkola, E. (2012). Value co-creation in knowledge intensive business service: A dyadicperspective on the joint problem solving process. Industrial Marketing Management, 41, 15-26.

Brodie, R. J., Hollebeek, L. D., Juric, B., & llic, A. (2011). Customer engagement: Conceptual domain, fundamental propositions, and implications for research. Journal of Service Research, 17(3), 1-20.

Creswell, J. W. (2003). Research design: Qualitative, quantitative, and mixed methods approaches. California: Sage.

Gallen, S. A. (2020). The response of tourism businesses vis-à-vis the economic ramifications of SARS-CoV-2. https://www.aiest.org/news/

Glaser, B. G., & Strauss, A. L. (1967). The discovery of grounded theory: Strategies for qualitative research. Chicago, IL: Aldine.

Pine, B. J., & Gilmore, J. H. (1998). Welcome to the experience economy. Harvard Business Review, 76(4), 97-105.

Prahalad, C. K., & Ramaswamy, V. (2004). The future of competition: Co-creating unique value with customers. Boston: Harvard Business Review Press.