วัฒนธรรมคุณภาพที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1

Main Article Content

ชมพูนุช บุญมาวงษา
ชาญวิทย์ หาญรินทร์
วัชรี แซงบุญเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบวัฒนธรรมคุณภาพของโรงเรียน จำแนกตามขนาดโรงเรียน 2) ศึกษาและเปรียบเทียบคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน จำแนกตามขนาดโรงเรียน และ 3) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของวัฒนธรรมคุณภาพที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนมเขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนจำนวน 358 คนกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการกำหนดสัดส่วนแบบใช้เกณฑ์ร้อยละได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 2 ฉบับ คือ 1) แบบสอบถามวัฒนธรรมคุณภาพของโรงเรียน มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ ค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.33 - 0.87 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.96 2) แบบสอบถามคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ระหว่าง 0.38 - 0.76 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.96 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


            ผลการวิจัยพบว่า ผลการศึกษาพบว่า (1) วัฒนธรรมคุณภาพของโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพพบว่าโดยรวมไม่แตกต่างกัน (2) วัฒนธรรมคุณภาพจำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นวัฒนธรรมคุณภาพ จำแนกตามขนาดสถานศึกษาโดยรวม แตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (3) การศึกษาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนจำแนกตามสถานภาพ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพโดยรวม พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน (4) ผลการศึกษาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนจำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบ จำแนกตามขนาดโรงเรียนโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (5) ตัวแปรวัฒนธรรมคุณภาพที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 มี 5 ตัวแปร ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำด้านคุณภาพ (X1) ด้านการยกย่องและการให้รางวัล (X3) ด้านการทำงาน เป็นทีม การมีส่วนร่วม และมีการพัฒนาบุคลากร (X4) ด้านการมุ่งเน้นผู้รับบริการ(X6)  และด้านการประเมินคุณภาพและพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (X2) โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 53 สามารถเขียนสมการ ได้ดังนี้


                        สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ


                                    Y'   =   1.86 + 0.19 X1 + 0.10 X3 + 0.09 X4 + 0.09 X6 + 0.08 X2


                        สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน


                                    Z y'   = 0.38 Z1 + 0.15 Z3 + 0.15 Z4 + 0.16 Z6 + 0.13 Z2

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา. กรุงเทพ ฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.

กันยารัตน์ กลมกล่อม และพรเทพ รู้แผน. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 5(1), 9-15.

ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2557). วัฒนธรรมคุณภาพ สร้างคน สร้างชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักงานรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา.

ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2558). ก้าวข้ามขีดจำกัดสู่สหัสวรรษแห่งคุณภาพ. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน).

ชาญวิทย์ สินธุบุญและคณะ. (2559). การพัฒนารูปสำนักงานแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กในเขตภาคเหนือตอนล่าง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, (20), 141 - 142.

ดารุวรรณ ถวิลการ. (2559). รูปแบบการพัฒนาวัฒนธรรมคุณภาพของโรงเรียนขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).

นิศารัตน์ แสงรี. (2559). การเปรียบเทียบผลการประเมินมาตรฐานการศึกษาตามเกณฑ์ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาระหว่างโรงเรียนพระราชทานกับโรงเรียนไม่ได้รับรางวัลพระราชทาน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่10). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2550). การวิเคราะห์องค์ประกอบวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออก. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 7(1), 224 – 232.

ภาวนา กิตติวิมลชัย. (2554). วัฒนธรรมคุณภาพสถาบันอุดมศึกษา : ในเครือข่ายอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารวิชาการสำนักงานประเมินและประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 1(1), 1 - 10.

วิจารณ์ พาณิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ส.เจริญการพิมพ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. (2564). รายงานการสังเคราะห์ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2563. http://npm1.esdc.go.th/

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). สพฐ. วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ สำนักงานฯ กรุงเทพฯ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (ม.ป.ป.). การบริหารคุณภาพโดยรวม. สำนักงานฯ กรุงเทพฯ.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน). (2558). ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่สหัสวรรษแห่งคุณภาพ. กรุงเทพฯ : ซีโน พับลิชชิ่ง แอนด์ แพคเกจจิ้ง จำกัด.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน). (2558). วัฒนธรรม สร้างคน สร้างชาติ. กรุงเทพฯ: บริษัท ออฟเซ็ต พลัส จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561. นนทบุรี: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

อุทุมพร จามรมาน. (2544). วิธีทำการประกันคุณภาพการศึกษา การศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา (รวมตัวอย่างดัชนี เกณฑ์ และรายงานประเมินตนเอง). กรุงเทพฯ: ฟันนี่.

Davison, A.S.K. (2007). The ling between six sigma and quality culture an empirical study. The Quality Management and Business Excellence, 18(3), 249 - 265.

Ehlers, U.D. (2009). Understanding quality culture. Quality Assurance in Education, 17(4), 343-363.

Goetsch, D.L.and Davis, S.B. (2003). Quality management: Introduction to total quality management for production, processing, and services (3rd ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Pavel, A.P. (2013). Quality Culture - A Key Issue for Romanian Higher Education. Procedia – Social and Behavioral Sciences, 116(2014), 3805-3810.

UNICEF (United Nation Children’s Fund). Defining Quality in Education. United Nation Children’s Fund 3 United Nations Plaza, H-7. New York: s.n., 2000.