การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้แผนผังความคิดเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการเขียนย่อความ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

อุษา มูลแก้ว
น้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้แผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการเขียนย่อความก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้แผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้แผนผังความคิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4 โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาลเมืองสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 43 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้แผนผังความคิด จำนวน 5 แผน 2) แบบวัดความสามารถในการเขียนย่อความ เป็นข้อสอบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ คะแนนเต็ม 50 คะแนน 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้แผนผังความคิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบไม่อิสระต่อกัน


ผลการวิจัยพบว่า 1) การพิจารณาความเหมาะสมในองค์ประกอบของแผนจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้แผนผังความคิด เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการเขียนย่อความ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญมีผลรวมการพิจารณาความเหมาะสมระดับมากที่สุด 2) การเปรียบเทียบความสามารถด้านการเขียนย่อความ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้แผนผังความคิด หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้แผนผังความคิด ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

เกศมณี คันธภูมิ. (2550). การเขียนเรียงความด้วยกลุ่มร่วมมือโดยใช้แผนผังความคิด ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5. [การศึกษาค้นคว้าอิสระด้วยตนเองปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จินตนา มั่นคง. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิค แผนผังความคิด เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2. [การศึกษาค้นคว้าอิสระด้วยตนเองปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชณานันต์ สุขสาคร. (2562). การพัฒนาความสามารถในการเขียนย่อความโดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์จัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรังสิต.

ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. ด่านสุทธาการพิมพ์.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). เทคนิคและยุทธวิธีพัฒนาทักษะการคิด การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรัญญา บุรินทร์รัตน์. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านจับใจความ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWL plus [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สาธินี วันชัย. (2555). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่สะกดตรงตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แผนผังความคิด. [การศึกษาค้นคว้าอิสระด้วยตนเองปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2544). มุ่งสู่คุณภาพการศึกษา. วัฒนาพานิช.