การศึกษาสภาพขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครังนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติงานข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 จําแนกตาม เพศอายุ และประสบการณ์ในการทำงาน 3) เพื่อศึกษาปัญหา แนวทาง และข้อเสนอแนะในการสร้างขวัญและกำลังใจของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 333 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีการทดสอบค่าเอฟ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติงานข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ทั้ง 5 ด้าน ในภาพรวมและรายด้าน มีสภาพและขวัญกำลังใจอยู่ในระดับมาก โดยมีสภาพขวัญกำลังใจใน ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานมากที่สุด รองลงมาคือด้านสภาพร่างกายและจิตใจ 2) ผลการเปรียบเทียบสภาพขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติงานข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 จําแนกตามตัวแปรเพศ อายุและประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า ภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3)ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสภาพขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติงานข้าราชการครู ปัญหาที่พบ คือ ขาดการให้คำปรึกษาและให้คำแนะนําในเรื่องการปฏิบัติงานที่ดี ไม่มีอิสระในการแสดงความคิดเห็น ขาดโอกาสก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่และความก้าวหน้าทางวิชาการ ไม่มีส่วนร่วมออกแบบดำเนินนโยบายต่าง ๆ สิ่งอํานวยความสะดวกในการทำงาน อุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนและการปฏิบัติงานมีอุปกรณ์เพียงพอและทันสมัย แนวทางการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจ คือ สร้างบรรยากาศในการทำงานของครูให้เหมาะสม มีความสบายกายและสบายใจ สร้างเครือข่ายชุมชนให้ความร่วมมือ สนับสนุน และส่งเสริมในการปฏิบัติงาน สถานที่ทำงานมีความปลอดภัย ไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพกายและจิตใจของครู
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กนกอร ทองเรือง. (2563). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษา ในอำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม. วารสารสังคมศึกษา มมร, 1(1), 13-25.
ชนัญชิดา พั้วพวง. (2563). การศึกษาขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการครูในโรงเรียน กลุ่มเครือข่ายวังหลวงหนองหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 8(1), 167-179.
ชาญสิทธิ์ วารี. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(20), 109-122.
นินท์ลดาว ปานยืน. (2560). ขวัญกําลังใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนเทศบาล สังกัดเทศบาลนครยะลา. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พเยาว์ หมอเล็ก. (2560). ขวัญกําลังใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อําเภอเมือง จังหวัดยะลา. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
พัชรี คงดี. (2556). ขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดนครสวรรค์. [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
รุ่งทิวา วิบูลย์พันธ์. (2562). ศึกษาขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
สมจิตร ไข่มุก. (2540). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติงานโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี. [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุวัฒ พันธฤทธิ์.(2554). ขวัญกําลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานครูโรงเรียนเทศบาล สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, ฉบับพิเศษ(1), 32-44.
อรรคพร จอมคําสิงห์. (2559). ขวัญกําลังใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนท่าใหม่“พูลสวัสดิ์ราษฎร์ นุกูล” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
McNitt, W. D. (2007). An analysis of urban elementary school teacher morale and school performance: Implication for leadership. Unpublished doctoral dissertation. Saint Louis University. St.Louis, MO.