การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแนวคิดโพลยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับแนวคิดโพลยา ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 4 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับแนวคิดโพลยา จำนวน 6 แผน แบบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา แบบสัมภาษณ์การจัดการเรียนรู้ และแบบสังเกตพฤติกรรมการแก้โจทย์ปัญหา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยคือ การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ ซึ่งทำการวิจัย 2 วงจรปฏิบัติการ ผลการวิจัย พบว่า
วงจรปฏิบัติการที่ 1 นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเฉลี่ยเท่ากับ 27.38 จากคะแนนเต็มทั้งหมด 40 คะแนน และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 70 จำนวน 10 คน จากนักเรียนทั้งหมด 13 คน คิดเป็นร้อยละ 76.93 และวงจรปฏิบัติการที่ 2 นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเฉลี่ยเท่ากับ 33.23 จากคะแนนเต็มทั้งหมด 40 คะแนน และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 70 จำนวน 12 คน จากนักเรียนทั้งหมด 13 คน คิดเป็นร้อยละ 92.30
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เกริก ศักดิ์สุภาพ. (2562). การแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(2), 7-21.
ชนินาถ ธงชัย. (2561). ผลการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ เจตคติต่อการเรียนวิชาฟิสิกส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธันยรัตน์ พลเยี่ยม, ศรันย์ ภิบาลชนย์ และกิตติมา พันธ์พฤกษา. (2563). การศึกษาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์ เรื่อง โมเมนตัมและการชน ของรักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(1), 84-95.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวียาสาส์น.
ปาริชาติ ประเสริฐสังข์. (2564). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์สมัยใหม่. มหาสารคาม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ฝ่ายวิชาการโรงเรียนหนองพอกวิทยาลัย. (2564). รายงานประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนหนองพอกวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563. โรงเรียนหนองพอกวิทยาลัย.
รัชนีเพ็ญ พลเยี่ยม. (2560). การวิจัยทางการศึกษา (Education Research). มหาสารคาม : อภิชาติการพิมพ์.
วีนัส ชาลี. (2562). แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยาและผลที่มีต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ: กรุงเทพฯ.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2564, 23 กันยายน). ผลการทดสอบ 9 วิชาสามัญ. https://www.niets.or.th/th/
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2558). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่ เพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียน. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุธาธิณี กรุดเงิน และพรสิริ เอี่ยมแก้ว. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้บูรณาการแนวคิดสะเต็มศึกษาที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์และเจตคติต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 16(3), 189-202.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2553). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอกวิทย์ ดวงแก้ว. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับกลวิธีแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์เชิงตรรกะของเฮลเลอร์และเฮลเลอร์ [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
Daulay, K. R. & Ruhaimah, I. (2019). Polya theory to improve problem-solving skills. Journal of Physics, 1188, 1-6.
Good, C. V. (1973). Dictionary of education. New York: McGraw-hill Book Company.
Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed). Stale: Victoria Deakin University.
Krulik, S. & Rudnick, J. A. (1993). Reasoning and problem solving: A handbook for elementary school teachere. Bosston: Allyn and Bacon.
Kazdin. A. E. (1977). Behavior Modification in Applied Setting. Illinois: Dorsy Press.
Polya, G. (1957). How to Solve it a new aspect of mathematical method. New York: Doublebay Anchor Book.
Sri Mulyani. E. S. & Anam. K. (2017). Improving Students’ Scientific Reasoning and Problem-Solving Skills by the 5E Learning Model. Biosaintifika, 9(3), 506-512.
Theresa, U. O. (2019). Effect of Polya’s problem solving technique on the academic achievement of senior secondary school student in physics. European J of Physics Education, 10, 38-48.