การสร้างสรรค์การแสดงจากการละเล่นเดอะโทน บ้านสุขขัง ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

นัยน์ปพร ชุติภาดา
สกุลรัตน์ อ่อนสันเทียะ
นัทธ์ สิทธิเสือ

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องการละเล่นเดอะโทน บ้านสุขขัง ตำตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาและวิธีการละเล่นเดอะโทน และเพื่อหาแนวทางในการสร้างสรรค์การแสดง โดยรวบรวมข้อมูลทางด้านเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ที่มีประสบการณ์ในการละเล่นเดอะโทน การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการจำลองสถานการณ์


ผลการวิจัยพบว่า การละเล่นเดอะโทนเป็นการละเล่นของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง ซึ่งอพยพมาจากนครหลวงเวียงจันทน์ตั้งแต่สมัยพระเจ้าตากสินมหาราช ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา การละเล่นดังกล่าวจะจัดขึ้นในช่วงประเพณีสงกรานต์ มีจุดประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้หนุ่มสาวได้พบปะกัน โดยฝ่ายหญิงจะรวมกลุ่มกันตีโทน เมื่อฝ่ายชายได้ยินเสียงโทนก็จะออกมาสมทบ มาเล่นที่บ้านของหญิงสาวที่มีการรวมกลุ่มเล่นเดอะโทน ซึ่งในระหว่างที่มีการเล่นเดอะโทนก็จะมีการละเล่นพื้นบ้านไปด้วย เช่น เล่นหนอน (การเล่นกระต่ายขาเดียว) เล่นลูกช่วง การเล่นดึงหนังวัว หนังควาย (การเล่นชักเย่อ) ถ้าฝ่ายไหนแพ้ก็ต้องทำตามคำสั่งของฝ่ายที่ชนะ และเอกลักษณ์ที่เห็นเด่นชัดในการละเล่นเดอะโทนคือจะไม่มีการร้องเพลงจะอาศัยเพียงการตีโทนในจังหวะต่างๆ เพื่อให้เกิดความสนุกสนานเท่านั้น ซึ่งจะแตกต่างกับการเล่นรำโทนของชาวโคราชที่มีการตีโทนและร้องเพลงฟ้อนรำไปด้วย ฉะนั้นเมื่อวิเคราะห์จากองค์ประกอบการแสดงแล้วในการทดลองออกแบบการสร้างสรรค์แสดง ผู้วิจัยจึงพบว่าแนวทางในการสร้างสรรค์การแสดงมีดังนี้ 1. แนวคิดการสร้างสรรค์การแสดงจากการละเล่นพื้นบ้าน 2. แนวคิดในการนำเสนออัตลักษณ์ของชาวลาวเวียง 3.การใช้แนวคิดนาฏยศิลป์ยุคหลังสมัยใหม่ Postmodern 4.การใช้หลักการเขียนโครงเรื่องการแสดงละคร

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

คำล่า มุกสิกาและวิชชุตา วุธทิตย์. (2558). แนวความคิดการสร้างสรรค์นาฏยประดิษฐ์อีสานในวงโปงลาง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 36-60.

เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2551). ดนตรีลาวเดิม. ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชัชวาล วงษ์ประเสริฐ. (2532). ศิลปะการฟ้อนอีสาน. สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ฐปนีย์ สังสิทธิวงศ์. (2554). การสร้างสรรค์ละครเพลงร่วมสมัย เรื่องศิลปินผู้บุกเบิกนาฏยศิลป์ร่วมสมัยในประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ธนันท์พัชร อัศวเสมาชัย. (2560). การสร้างสรรค์งานทางนาฏศิลป์ “การสร้างสรรค์นาฏศิลป์ร่วมสมัย”. คลังนานาวิทยา.

นพพล ไชยสน. (2559). ดนตรีเขมร: รากฐานทรัพยากรทางวัฒนธรรมกับการอนุรักษ์. วารสารกระแสวัฒนธรรม. มหาวิทยาลัยสยาม, 22(42), 43-57.

บุปผา บุญทิพย์. (2538). คติชาวบ้าน. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พีรพงศ์ เสนไสย. (2546). นาฏยประดิษฐ์. ประสานการพิมพ์.

โรงเรียนปักธงชัยประชานิรมิต. (2530). เล่าเรื่องเมืองปัก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. ม.ป.ท.

วิภาพร ฝ่ายเพีย. (2557). การสร้างสรรค์ฟ้อนพื้นบ้านอีสาน: กรณีศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 5(2), 195-207.

วัน มังกิจ. สัมภาษณ์. วันที่ 12 เมษายน 2564.

เสาลักษณ์ อนันตศานต์. (2543). ทฤษฎีคติชนและวิธีการศึกษา. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อึ้ง บุรีตะคุ. สัมภาษณ์. วันที่ 12 เมษายน 2564.