การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะในการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทย ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 13 คน โรงเรียนบ้านผักแว่นอนามัย (คุรุศิษยานุกูล) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC จำนวน 16 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านและการเขียนภาษาไทย แบบปรนัย จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) การหาประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิตินอนพาราเมตริกด้วยวิธีการทดสอบวิลคอกซัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC มีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.20/80.77 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้ 2) ความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทยหลังการจัดการเรียนรู้เพิ่มขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้เพิ่มขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กัลยา แข็งแรง. (2552). การสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยสำหรับนักเรียนชาวเขา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กฤษณา ชาญวิชานนท์. (2550). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาไทยและความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการเรียนรู้แบบร่วมมือกับการเรียนรู้แบบรายบุคคล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ชนิกา วิชานนท์. (2560). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2555). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 2). แดแน็กอินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
ทิพลัดดา นิลผาย. (2560). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการกลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นภาเพ็ญ แสนสามารถ. (2562). การพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทย โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับการอ่านเขียนแบบแจกลูกสะกดคำเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านและการเขียน การคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
บุญปารถนา มาลาทอง. (2562). ความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึกการอ่านและการเขียนภาษาไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
พรรณนิภา เดี่ยวผา. (2558). การศึกษาความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทยและพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
เพ็ญพิชา มั่นสกุล. (2564). การพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
โรงเรียนบ้านผักแว่นอนามัย (คุรุศิษยานุกูล). (2564). รายงานการประเมินความสามารถการอ่านและการเขียน. โรงเรียนบ้านผักแว่นอนามัย (คุรุศิษยานุกูล).
ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6). สุวีริยาสาสน์.
สุวิมาลย์ ยืนยั่ง. (2556). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค CIRC [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2562). คู่มือการวัดและประเมินผลความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.
Varisoglu, Behice. (2016). Influence of Cooperative Integrated Reading and Composition Technique on Foreign Students’ Reading and Writing Skills in Turkish (ERIC NO.EJ1104555) [Master’s thesis]. Educational Resources Information Center.