การสร้างสรรค์บทบรรเลงกีตาร์แจ๊สโดยอาศัยแนวคิดระบบเสียงภาษาไทย

Main Article Content

ณัฐณโชติ ภูลม

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้นำเสนอการสร้างสรรค์บทบรรเลงกีตาร์แจ๊สโดยอาศัยระบบเสียงในภาษาไทย ที่กำหนดรูปแบบการประพันธ์ขึ้นมาใหม่ตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัย ได้แก่ 1.) เพื่อสร้างวิธีการประพันธ์เพลงกีตาร์แจ๊สโดยอาศัยแนวคิดระบบเสียงภาษาไทย 2.) เพื่อสร้างขั้นตอนการประพันธ์เพลงกีตาร์แจ๊สโดยอาศัยแนวคิดระบบเสียงภาษาไทย โดยได้ศึกษาการสร้างสรรค์การประพันธ์เพลงในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้ผู้วิจัยมีการสร้างสรรค์ดนตรีที่มีมุมมองใหม่และความหลากหลายมากขึ้น มีการใช้ศาสตร์และศิลป์จากแขนงอื่นนอกจากดนตรีด้วยกันเอง เพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์ผลงานดนตรีที่ไม่จำเจ ดังนั้นผู้วิจัยเล็งเห็นว่าความสวยงามของดนตรีและความน่าสนใจของระบบเสียงในภาษาไทย สามารถนำสิ่งที่เป็นแนวคิดมาต่อยอดให้เป็นงานศิลปะรูปธรรมได้ ในรูปแบบวิธีการสร้างสรรค์บทประพันธ์เพลง


โดยผู้วิจัยพบว่า การสร้างสรรค์บทบรรเลงกีตาร์แจ๊สโดยอาศัยระบบเสียงในภาษาไทย นั้น จำเป็นต้องมีการสร้างตารางแสดงผลและเปรียบเทียบในรูปแบบที่อิงตามทฤษฎีดนตรี โดยมีการยกตัวอย่างเพื่อเป็นวัตถุดิบของการประพันธ์เพลงไว้อย่างครอบคุม ได้แก่ 1) การสร้างจังหวะที่อิงจากเสียงสระ 2) การสร้างเสียงประสานที่อิงจากพยัญชนะต้น พยัญชนะสะกด และวรรณยุกต์ 3) การสร้างทำนองจากการอ้างอิงการประพันธ์เสียงประสานและจังหวะที่ได้กำหนดไว้แล้วจากขั้นตอนที่ 1 และ 2 ด้วยการเรียบเรียงจากคีตปฏิภาณของนักดนตรี รวมไปถึงการยกตัวอย่างการใช้คำในระบบภาษาไทยมาเรียบเรียงเป็นบทเพลงเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาขั้นตอนและกระบวนการที่สำคัญต่อการสร้างสรรค์บทประพันธ์เพลง ดังนั้นผู้วิจัยจึงเห็นว่าการสร้างสรรค์บทประพันธ์ในครั้งนี้เป็นเนื้อหาที่เป็นแนวทดลองจำเป็นต้องใช้หลักการเดิมที่มีอยู่ควบคู่ไปกับความคิดสร้างสรรค์ใหม่อย่างเปิดกว้าง


 

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กำชัย ทองหล่อ. (2533). หลักภาษาไทย. สำนักพิมพ์บำรุงสาส์น.

ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร. (2552). การประพันธ์เพลงร่วมสมัย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2557) แก่นทฤษฎีดนตรีสากล. ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

ณัฐวรรณ ชั่งใจ. (2555). วิวัฒนาการของภาษาไทย. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เด่น อยู่ประเสริฐ. (2556). เอกสารคำสอนวิชาการประพันธ์ดนตรีแจ๊ส. มหาวิทยาลัยรังสิต.

พระยาอุปกิตศิลปสาร. (2538) หลักภาษาไทย. บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

วุฑฒิชา เครือเนียม. (2560). บทประพันธ์ซาวด์สเคป: จิตวิญญาณแห่งปรางค์กู่. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล สัทวิทยา. (2547). การวิเคราะห์ระบบเสียงในภาษา. สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Coker, J. (1991). Improvising Jazz. Simon and Schuster.