บทเพลงฝึกหัดซอสามสายเบื้องต้นสายพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์พันศักดิ์ วรรณดี

Main Article Content

อรอุมา เวชกร

บทคัดย่อ

บทความนี้ ผู้เขียนมีความประสงค์ที่นำเสนอให้เห็นถึงหลักการสีซอสามสายพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) โดยศึกษาจากเพลงไล่เสียง และเพลงต้นเพลงฉิ่ง สามชั้น ประกอบการคลอร้อง ตามรูปแบบของสายสำนักพระยาภูมี (จิตร จิตตเสวี) โดยเป็นองค์ความรู้ที่ผู้เขียนได้รับการถ่ายทอดจากผู้ช่วยศาสตราจารย์พันธ์ศักดิ์  วรรณดี


แบบฝึกหัดเพลงไล่เสียง เป็นแบบฝึกหัดปฐมบทที่พระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) ได้ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ในการฝึกหัดซอสามสายขั้นพื้นฐานเบื้องต้น เป็นพื้นฐานการปฏิบัติที่สำคัญที่พระยาภูมิเสวิน (จิตร จิตตเสวี) ได้วางหลักวิธีการปฏิบัติไว้ให้ผู้เรียนได้ฝึกหัดเบื้องต้น เมื่อผู้เรียนสามารถบรรเลงเพลงไล่เสียงนี้ได้ จะมีทักษะพื้นฐานการใช้นิ้วทั้งสามสาย การใช้คันชัก และการพลิกหน้าซอ จากนั้นจะเริ่มต่อเพลงพื้นฐานในลำดับต่อไป โดยเป็นเพลงที่มีการใช้นิ้ว 2 รูปแบบ คือ วรรคที่ 1 และวรรคที่ 2 ใช้นิ้วรูปแบบเดียวกัน วรรคที่ 3 และวรรคที่ 4 ใช้นิ้วในรูปแบบเดียวกัน แต่มีการใช้นิ้วครบทั้งสามสาย เพลงต้นเพลงฉิ่ง สามชั้น เป็นเพลงที่พระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) ใช้เป็นเพลงพื้นฐานหลังจากต่อเพลงไล่เสียง เป็นทางเพลงที่ท่านได้ประพันธ์ขึ้นเพื่อความสม่ำเสมอ การควบคุมน้ำหนักคันชักในคู่เสียงประสาน ฝึกหัดการใช้กันชัก 4 การใช้คันชัก 8 อย่างเป็นระบบ ฝึกการใช้นิ้วครบทั้ง 4 นิ้ว และนิ้วสำคัญในซอสามสายคือนิ้วชุน  บทเพลงทั้งสองเพลงนี้เป็นบทเพลงที่มีทำนองซ้ำ ไม่มีความซับซ้อนมาก มีการฝึกหัดการใช้นิ้วและการฝึกใช้คันชักอย่างเป็นระบบเหมาะสมต่อการใช้เป็นบทเพลงเพื่อการฝึกหัดซอสามสายเบื้องต้น

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (2536). สารานุกรมเพลงไทย. เรือนแก้วการพิมพ์.

พงศ์ศิลป์ อรุณรัตน์. (2558). เสียงเสนาะซอสามสาย: การบันทึกเสียงพร้อมบทวิเคราะห์และโน้ตสากล. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

พันธ์ศักดิ์ วรรณดี. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (22 พฤศจิกายน 2553). สัมภาษณ์.

พันธ์ศักดิ์ วรรณดี. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (2 ธันวาคม 2553). สัมภาษณ์.

พันธ์ศักดิ์ วรรณดี. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (8 กรกฏาคม 2554). สัมภาษณ์.

สุรพงษ์ บ้านไกรทอง. (2555). การถ่ายทอดวิธีการบรรเลงซอสามสาย สำนักพระยาภูมีเสวิน

(จิตร จิตตเสวี) [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรอุมา เวชกร. (2553). อาศรมศึกษา: ครูพันธ์ศักดิ์ วรรณดี. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.