นวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวฮาลาล ในชุมชนมัสยิดบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวฮาลาลแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน โดยใช้นวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ของชุมชนมัสยิดบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 2. เสนอแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวฮาลาลในลักษณะดังกล่าวในชุมชนมัสยิดบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลง มีผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 24 คน จากภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในชุมชนมัสยิดบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบตรวจสอบชุมชนศึกษา แบบตรวจสอบทรัพยากรท่องเที่ยว และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมกลุ่มย่อยที่มีโครงสร้าง การตรวจสอบข้อมูลใช้วิธีการตรวจสอบแบบสามเส้า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เพื่อสรุปประเด็นสำคัญในภาพรวม
ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุมชนมัสยิดบางอ้อ มีศักยภาพด้านทรัพยากรท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรมที่โดดเด่น ศักยภาพด้านการจัดการทรัพยากรท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน ศักยภาพด้านการมีส่วนร่วมของบ้าน มัสยิด โรงเรียน เพื่อร่วมพัฒนาการท่องเที่ยวในชุมชน ตลอดจนศักยภาพด้านการสร้างกิจกรรมเพื่อปลุกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรและในการพัฒนาจิตใจของชุมชนและนักท่องเที่ยว 2. แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวฮาลาลแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนในชุมชนมัสยิดบางอ้อ โดยใช้นวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ คือการกำหนดวิสัยทัศน์ในการพัฒนาชุมชนมัสยิดบางอ้อเป็นจุดหมายปลายทางที่โดดเด่นของการท่องเที่ยวฮาลาลแห่งอาเซียน ในรูปแบบของแบรนด์ท่องเที่ยวฮาลาลที่มีจุดยืน (Position) 4 ตำแหน่ง คือ 1. “มัสยิดบางอ้อที่งดงามเหลือเชื่อกลางแมกไม้ริมฝั่งเจ้าพระยา” โดยใช้นวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ และการจัดการร่วมแบบปรับได้ 2.“เยือนมัสยิดบางอ้อ ศึกษาศาสนาอิสลามและประวัติศาสตร์ชุมชนแขกแพ” โดยใช้นวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ด้านการสร้างคุณค่า และการพัฒนาด้านจิต 3. “เยือนชุมชนมัสยิดบางอ้อ สัมผัสวิถีมุสลิม ร่วมประเพณีถือศีลอด ฉลองปีใหม่อิสลาม” โดยใช้นวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ของการเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากเศรษฐกิจทุนนิยมสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตและการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลง 4. “เยือนมัสยิดบางอ้อ ชิมฮาลาลเลิศรส อาหารสานใจทุกวัยในชุมชน” โดยใช้นวัตกรรมการเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากการบริโภคนิยมสู่การบริโภคด้วยปัญญา และนวัตกรรมด้านผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565, 15 มีนาคม). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) (พ.ศ.2560-2564). https://www.mots.go.th/entadmin/ewt/mots_web57/download/
article/antical20170320150102.pdf
ชาย โพธิสิตา. (2552). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 4) สถาบันวิจัยประชากและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
ประเวศ วะสี. (2550). ความเป็นมนุษย์กับการเข้าถึงสิ่งสูงสุด. สำนักพิมพ์กรีน-ปัญญาญาณ.
ปิยะชาติ อิศรภักดี. (2559). Branding 4.0. บริษัทอมรินทร์พริ้นท์ติ้ง.
พยอม ธรรมบุตร. (2553). เอกสารประกอบการเรียนการสอนหัวข้อ การสร้างตราสินค้า “Branding”. วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา.
พยอม ธรรมบุตร. (2564). เอกสารประกอบการเรียนการสอน หัวข้อ การวิจัยเชิงปฏิบัติจิตแนวสัจธรรมนิยมในพุทธศาสนา. วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา.
พระพรหมคุณากรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 27). โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุภางค์ จันทวานิช. (2553). วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 18). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อารยวังโส. (2555). พุทธเศรษฐ์ในธรรมศาสตร์. อมรินทร์พริ้นท์ติ้ง.
อรุณ บุญชม. (2561, 15 กุมภาพันธ์.) ระบบธนาคารอิสลามเทียบกับระบบธนาคารพาณิชย์.
Greg Richards and Wil Munsters. (2010). Cultural Tourism Research Methods. CAB International Oxford shire.
Norra Pierre, (2022, 18 February). Sites of Memory / Lieu de Memoire.
https://en.m.wikipedia.org>wiki.
Urry. (2002). The Tourist Gaze. Sage Publication.
UNWTO. (2010). International Recommendations for Tourism Statistics 2005. United Nations.