การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกลวิธี STAR ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา หน่วยการเรียนรู้ ปริมาตรและความจุ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกลวิธี STAR ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกลวิธี STAR 3) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกลวิธี STAR ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านซำจำปา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 22 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ ปริมาตรและความจุ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกลวิธี STAR จำนวน 8 แผน 16 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.02/79.09 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ 3) แบบวัดความสามารถการในการแก้โจทย์ปัญหา จำนวน 2 ข้อ ดำเนินการทดลองแบบกลุ่มทดลองหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าคะแนนพัฒนาการ
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกลวิธี STAR ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.02/79.09 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกลวิธี STAR หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน คะแนนพัฒนาการของนักเรียนร้อยละ 63.64 อยู่ในระดับสูงและนักเรียนร้อยละ 36.36 อยู่ในระดับกลาง 3) ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกลวิธี STAR หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน คะแนนพัฒนาการของนักเรียนร้อยละ 68.18 อยู่ในระดับสูงและ นักเรียนร้อยละ 31.82 อยู่ในระดับกลาง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.
กันต์กนิษฐ์ พลพิพัฒน์. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้โจทย์ ปัญหา คณิตศาสตร์ของนักเรียนโดยใช้กลวิธี STAR [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). สุวิริยาสาส์น.
ประจบ แสงสีบับ (2556) ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กลวิธี STAR เรื่อง โจทย์ ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวและการแปรผัน ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะการ
เชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 2 [ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิสณุ ฟองศรี .2550. วิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). บริษัทพอเพอร์ตี้ จํากัด.
พิสมัย ศรีอำไพ. (2533). คณิตศาสตร์สําหรับครูประถม. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2545). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. เดอะมาสเตอรกรุ๊ป.
ยุพิน พิพิธกุล. (2539). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์. บพิธการพิมพ์.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: วัฒนา.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. สุวิรียาสาส์น.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2557). นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ : ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 - 4 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สถาบันฯ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์. ส.เจริญการพิมพ์.
สมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2543). สาระน่ารู้สำหรับครุ คณิตศาสตร์. พิทักษ์การพิมพ์.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2548). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สินีนิตย์ การปลูก. (2552). ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาและความคงทนในการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องบทประยุกต์ โดยใช้การสอนแบบกลวิธี STAR ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 6 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สิริพร ทิพย์คง. (2545). หลักสูตรและการสอนคณิตศาสตร์. สำนักพิมพ์พัฒนาคุณภาพวิชาการ.
สุรภทัร สาแสง. (2553). ผลสัมฤทธิ์ของการประยุกต์การสอนแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้ กลวิธี Star ที่มีต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง วิธีเรียงสับเปลี่ยนและวิธีจัดหมู่สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
สุวร กาญจนมยูร. (2533). เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา. ไทยวัฒนาพานิช.
สมนึก ภัททิยธนี. (2551). การวัดผลการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อัมพร ม้าคนอง. (2546). 19 วิธีจัดการเรียนรู้. ภาพพิมพ์.
อรษา เกมกาเมน. (2559). ผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาเศษส่วน ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ผสานกลวิธี STAR [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Adam, Sam, Leslie C. Ellis and Beeson, B.F. (1977). Mathematics with Emphasis on the Diagnostic Approach. Harper & Row.
Johnson and Johnson (1994). Learning Together and Alone: Cooperative and Individualistic Learning (4th ed). Englewood Cliffs, Prentice Hall.
Maccini, P. and Hughes, C.A. (2000). Effects of a Problem Solving Strategy on the Introductory Aigebra Performance of Secondary Students with Learning Disabilities, Research & Practice.
Maccini, P., & Gagnon, J. (2011). Mathematics strategy instruction (SI) for middle school students with learning disabilities. Retrieved from http://www.k8a ccesscenter.org/training_resources/massini.asp.
National Council of Teachers of Mathematics (NCTM). (2000). Principles and Standards for School Mathematics. Reston. Va: NCTM.
Oas, B.K., Schumaker, J.B. and Deshler, D.D. (2021, 18 March). Leaming Strategies: Tools for Leaming to Leam in Middle and High School.
http://www.cals.ncsu.edu:8050/agexed/leap/535/learn.html.
Slavin Robert E. (1987, November). Cooperatives learning and cooperatives schools. Education Leadership.