นวัตกรรมการจัดการความรู้ การบริหารจัดการโรงแรมขนาดเล็ก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวท้องถิ่นในเขตพัฒนาการท่องเที่ยว วิถีชีวิตลุ่มน้ำโขง

Main Article Content

เพ็ญพักร์ศิณา วิเชียรวรรณ
วิภาดา มุกดา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการนำเสนอกระบวนการสร้างแผนนวัตกรรมการจัดการความรู้ การบริหารจัดการโรงแรมขนาดเล็ก 2. จัดทำแผนนวัตกรรมการจัดการความรู้ การบริหารจัดการโรงแรมขนาดเล็กเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวท้องถิ่นในเขตพัฒนาการท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มน้ำโขง โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา สำหรับผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารหรือตัวแทนโรงแรมจำนวน 54 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ นักท่องเที่ยว มัคคุเทศก์หรือผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว ผู้แทนจากสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาประจำจังหวัด ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ใช้ประโยชน์งานวิจัย จำนวน 50 คน


ผลการวิจัย พบว่า 1. กระบวนการสร้างแผนนวัตกรรมฯ ได้แก่ การกำหนดเป้าหมาย การดำเนินงาน การประเมินผล การสรุปผล และ 2. แผนนวัตกรรม ได้แก่ 1) ความใหม่ของการบริหารจัดการโรงแรมขนาดเล็ก โดยการกำหนดเป้าหมายหรือขอบเขต จากผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกระบวนการ โดยเป็นการปรับปรุงจากของเดิมหรือพัฒนาขึ้นใหม่ 2) การบริหารจัดการโรงแรมขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ กำหนดเป้าหมายหรือขอบเขต คือ ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นได้จากการพัฒนาสิ่งใหม่ให้มีความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจให้มากยิ่งขึ้น หรือ สร้างคุณค่าที่ลูกค้าได้รับจากการบริโภคสินค้าและบริการที่มีอยู่ในธุรกิจโรงแรมให้มากขึ้น 3) การใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ในการบริหารจัดการโรงแรมขนาดเล็ก กำหนดเป้าหมายหรือขอบเขต คือ การใช้ความคิดสร้างสรรค์การบริการร่วมกันระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ส่งผลให้เกิดความใหม่ในการบริการเฉพาะกลุ่มหรือบุคคล นอกจากนี้มีการประเมินผลแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์ปกติ ได้แก่ 1. มาตรฐานสมรรถนะผู้ประกอบวิชาชีพโรงแรมแห่งอาเซียนตามกรอบของข้อตกลงยอมรับคุณสมบัตินักวิชาชีพอาเซียน สมรรถนะอาเซียน มาตรฐานสมรรถนะวิชาชีพด้านการโรงแรม 2. เกณฑ์และตัวชี้วัดตามมาตราฐานที่พักเพื่อการท่องเที่ยว ประเภทมาตรฐานโรงแรม ระดับ 2 ดาว (Hotel Standard)
3. เกณฑ์มาตรฐานการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยที่การประเมินผลแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง หลังวิกฤติการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้แก่ มาตรการสาธารณสุขและมาตรฐานการบริการที่ดีตามโครงการแนวทางความปลอดภัยด้านสุขอนามัย

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์. (2559). นวัตกรรมการบริการ: กลยุทธ์ที่สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันขององค์การธุรกิจบริการ. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 14(2), 14-24.

ทศพร บุญวัชราภัย วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ ขวัญฤดี ตันตระบัณฑิตย์. (2559). ความคิดสร้างสรรค์ขององค์กรและนวัตกรรมบริการของโรงแรมบูติกไทย. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(3), 1242-1259.

ธาริดา สกุลรัตน. (2563). แนวทางพัฒนาการบริการที่พักสัมผัสวัฒนธรรม (โฮมสเตย์) เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(6), 405-420.

พิมพ์รวี ทหารแกล้ว วรรณพรรธ์ ริมผดี ณัฐปรียา โพธิ์พันธุ์ และ ณฐิตา อินทร์ยะ. (2563). ต้นแบบความสำเร็จด้านการบริหารจัดการโรงแรมขนาดเล็กในเขตพื้นที่พัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา. ศูนย์บริการสื่อและสิ่งพิมพ์กราฟฟิคไซด์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

เพ็ญพักร์ศิณา วิเชียรวรรณ. (2563). นวัตกรรมกระบวนการฝึกอบรมและพัฒนาประสิทธิผล การให้บริการของพนักงานที่พักเพื่อส่งเสริมสุขภาพในเขตพื้นที่พัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, 4(1), 44-59.

ภัทรบดินทร์ สุทธภักดี. (2559). แนวทางการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของชุมชนริมกว๊านพะเยา. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5802031152_5212_4096.pdf

ชุติมา จักรจรัส เอกชัย จากศรีพรหม ณฐิตา อินทร์ยะ และ เตชิตา ภัทรศร. (2563) การจัดการและกลยุทธ์การถ่ายทอดความรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการโรงแรมขนาดเล็กในเขตพื้นที่พัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา. ศูนย์บริการสื่อและสิ่งพิมพ์กราฟฟิคไซด์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2558). หลักสถิติวิจัยและการใช้โปรแกรม SPSS. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชกิจจานุเบกษา. (2560). ประกาศคณะกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวประจําเขตพัฒนาการท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขง เรื่อง แผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยว ภายในเขตพัฒนาการท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขง พ.ศ. 2560-2564. (2560, 8 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 32 ง. หน้า 12-24. http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER17/DRAWER021/GENERAL/DATA0000/00000137.PDF

วัฒนา ทนงค์แผง และชวลีย์ ณ ถลาง. (2560). รูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจโรงแรมขนาดเล็ก เขตพื้นที่จังหวัดตราด. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 13(3), 71-83.

วิสันต์ ลมไธสง บรรพต วิรุณราช และสุชนนี เมธิโยธิน. (2560). แนวทางการส่งเสริมนโยบายและแนวทางปฏิบัติการท่องเที่ยวในแม่น้ำโขงของประเทศไทย. Journal of MCU Peace Studies, 5(3), 144-159.

วิจัยกรุงศรี. (2564). ธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมหลัง COVID-19. https://www.krungsri.com/th/research/research-intelligence/ri-future-of-tourism-21

สมพงษ์ อำนวยเงินตรา. (2559). การสร้างมูลค่าเพิ่มธุรกิจโรงแรมด้วยกลยุทธ์ Blue Ocean. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ, 36(1), 1-23.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ เยี่ยมดาว ณรงคะชวนะ และยุทธชัย ฮารีบิน. (2561). การจัดการความรู้และความผูกพันต่อองค์การ ที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ขององค์การที่มีผลการดำเนินงานด้านนวัตกรรมการศึกษาเชิงประจักษ์ธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 58(3), 130-154.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2560). รายงานผลการสำรวจขีดความสามารถด้านวัตกรรมของประเทศไทย. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

อมราวดี ไชยโย เมทนี มหาพรหม. (2563). การจัดการภาวะวิกฤตของธุรกิจที่พักแรมในประเทศไทยภายใต้วิกฤตการณ์ COVID-19. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(3), 685-700.

อาภรณ์ แก้วพรหมมาน ชาคริต ศรีทอง และสุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ. (2562). แนวทางการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันโรงแรมขนาดเล็กของภาคใต้ชายฝั่งอันดามัน ประเทศไทย. วารสาร BU Academic Review, 18(2), 99-113.

Choosri, Anchisa. (2014). The Service Innovation, Corporate Social Responsibility, and Word–of–Mouth Marketing Affecting Decision to Use the Private Hospital’s Inpatient Ward (IPD) in Bangkok. Independence Study of Business Administration. Bangkok University.

Kim, W.C. and Mauborgne, R. (2009). Blue Ocean Strategy: From Theory to Practice. California Management Review, 47(3), 103-121.

Ngan T. T., Duy D.P., Robert M., & Mathews N. (2020). Exploring the Impact of Innovativeness of Hospitality Service Operation on Customer Satisfaction. Operations and Supply Chain Management, 13(3), 307 – 319.

Ognjanovic, J. (2021). Intellectual Capital in Hotel Companies. file:///C:/Users/Admin/Downloads/TISC_2016.pdf

Thada Samani. (2019). Service Innovation of Hotel Industry in Thailand. Journal of Thai Hospitality and Tourism, 14(1), 103-110.

Ziyae, B., Sadeghi, H. & Golmohammadi, M. (2022). Service innovation in the hotel industry: the dynamic capabilities view. Journal of Enterprising Communities: People and Places in the Global Economy, 16(4), 582-602.